.ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของดาวเรืองนะคะ

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

อาณาจักรอยุธยา


"เราจะทำตามสัญญาขอเวลาอีกไม่นาน อุ้ย! มาแล้วค่ะมาตามสัญญาแล้วสืบเนื่องจากบทความที่แล้วที่ดาวเรืองบอกว่าเจอกันสถานีหน้ากรุงศรีอยุธยาของเรา ดังนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลามาศึกษาอาณาจักรอยุธยาของเรากันดีกว่าค่ะ"



อาณาจักรอยุธยา
พ.ศ. 18932310
เมื่อสิ้นรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อาณาจักรสุโขทัยก็เสื่อมลง พระมหากษัตริย์ที่สืบราชสมบัติต่อจากพ่อขุนรามคำแหง คือ พระยาเลยไทย (รัชกาลที่ 4) และพระยางั่วนำถม (รัชกาลที่ 5) ไม่สามารถรักษาอาณาจักรให้คงสภาพเดิมได้ บรรดาหัวเมืองและอาณาจักรที่เคยอยู่ในอำนาจต่างพากันแข็งเมืองตั้งตนเป็นอิสระ ในจำนวนนี้มีเมืองสำคัญคือ เมืองอู่ทอง
ใน พ.ศ. 1890 ซึ่งเป็นปีที่พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) ขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 6 แห่งกรุงสุโขทัยนั้น เมืองอู่ทองเกิดภัยธรรมชาติ ลำน้ำจระเข้สามพันตื้นเขิน เกิดขาดแคลนน้ำ อหิวาตกโรคระบาดทำให้ผู้คนล้มตายเป็นอันมาก เจ้าเมืองอู่ทองจึงอพยพผู้คนไปยังทำเลที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ (เชื่อว่าเป็นบริเวณที่เป็นวัดพุทธสวรรย์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาปัจจุบัน) ทรงสร้างพระราชวังขึ้นที่ริมหนองโสน (บึงพระราม) แล้วประกาศสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ใน พ.ศ. 1893 และเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) กรุงศรีอยุธยาเป็นทำเลที่มีพื้นที่อันมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ถือกันว่าเหมาะ คือ มีแม่น้ำ 3 สาย ไหลผ่าน ได้แก่
แม่น้ำลพบุรี ไหลจากทิศเหนือโอบอ้อมไปทางทิศตะวันตก
แม่น้ำเจ้าพระยา ไหลผ่านทางทิศใต้
แม่น้ำป่าสัก ไหลผ่านทางทิศตะวันออก

จึงทำให้ผืนแผ่นดินนี้มีลักษณะเป็นเกาะ เป็นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตร สะดวกแก่การคมนาคมติดต่อกับต่างประเทศเพราะใกล้ทะเลเป็นชุมทางค้าขายที่สำคัญ ทั้งยังมีความเหมาะสมในด้านยุทธศาสตร์ มีแม่น้ำล้อมรอบ เป็นแนวป้องกันตามธรรมชาติได้อย่างดี ยากที่ข้าศึกจะเข้าโจมตีหรือล้อมกรุงไว้ได้นาน เพราะเมื่อถึงฤดูน้ำหลากน้ำก็จะท่วมถึงบริเวณนี้โดยรอบอีกด้วย
พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทยอยู่นาน 417 ปี มีพระมหกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 34 พระองค์นับรัชกาลได้ 35 รัชกาล ดังนี้
รัชกาลที่
พระนาม
ปีที่ครองราชย์ (พ.ศ.)
เหตุการณ์หรือพระราชกรณียกิจสำคัญ
1.สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)18931912
สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จัดระเบียบการปกครองแบบจตุสดมภ์
2.สมเด็จพระราเมศวร19121913 (ครั้งที่ 1)
3.สมเด้๗พระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพระงั่ว)
19131931
-สุโขทัยยอมอยู่ใต้อำนาจอยุธยา
4.สมเด็จพระเจ้าทองลัน (หรือเจ้าทองจันทร์)
1931 (7 วัน)
5.สมเด็จพระราเมศวร19311938 (ครั้งที่ 2)
ทำสงครามชนะล้านนา ตีนตรเมืองหลวงของเขมร (ขอม) ได้
6.สมเด็จพระรามราชาธิราช19381952
สุโขทัยประกาศอิสรภาพ
7.สมเด้จพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์)19521967
อยุธยากลับมีอำนาจเหนือสุโขทัยอีก
8.สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา)19671991
รบชนะอาณาจักรเขมร รวมสุโขทัยเข้ากับอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 1981
9.สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ19912031
ปฏิรูปการปกครองรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ประกาศใช้ระบบศักดินา

10.สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (พระอินทราชาที่ 2)20312034
11.สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 220342072
หล่อพระศรีสรรเพชญ์ โปรตุเกสเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย
12.สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (หน่อพุทธางกูร)20722076
13.พระรัษฎาธิราช20762077 (5 เดือน)
14.สมเด็จพระไชยราชาธิราช20772089
อยุธยาทำสงครามกับพม่าเป็นครั้งแรก -ล้านนายอมเป็นประเทศราชของอยุธยา
15.พระยอดฟ้า (พระแก้วฟ้า)20892091
16.ขุนวรวงศาธิราช2091 (42 วัน)
17.สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเจ้าช้างเผือก)20912111
-ไทยเสียสมเด็จพระสุริโยทัยในการรบกับพม่า เมื่อ พ.ศ. 2091
ไทยแพ้พม่าในสงครามช้างเผือก พ.ศ. 2106
18.สมเด็จพระมหินทราธิราช(21112112)
เสียกรุงอยุธยา ครั้งที่ 1 แก่พม่า เมื่อ พ.ศ. 2112
19.สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (พระสรรเพชญ์ที่ 1)21122133
อยุธยาเป็นประเทศราชของพม่า 15 ปี -เขมรโจมตีไทยหลายครั้ง
พระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพจากพม่า เมื่อ พ.ศ. 2127
20.สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พระสรรเพชญ์ที่ 2)21332148
ไทยชนะพม่าในสงครามยุทธหัตถี พ.ศ. 2135
-ไทยขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวางออกไปกว้างขวางกว่าสมัยใดๆ
21.สมเด็จพระเอกาทศรถ (พระสรรเพชญที่ 3)21482153
ส่งทูตไปฮอลันดา นับเป็นทูตไทยคณะแรกที่ไปยุโรป
22.พระศรีเสาวภาคย์ (พระสรรเพชญ์ที่ 4)2153-2154 (1ปี2เดือน)
23.สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พระอินทราชา)21542171
พบรอยพระพุทธบาทสระบุรี -ทรงนิพนธ์กาพย์มหาชาติ
24.สมเด็จพระเชษฐาธิราช21712172 (8 เดือน)
25.พระอาทิตย์วงศ์2172 ( 38 วัน)
26.สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พระสรรเพชญ์ที่ 5)21722199
ได้เขมรเป็นเมืองประเทศราช
27.สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (พระสรรเพชญที่ 6)2199 (3-5 เดือน)
28.สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา (พระสรรเพชญ์ที่ 7)2199 (2 เดือน)
29.สมเด็จพระนารายณ์มหาราช(21992231)
ส่งออกพระวิสุทธสุนธร (โกษาปาน) เป็นทูตไปฝรั่งเศส รับวิทยาการจากชาติ ตะวันตกเข้ามามาก
-เป็นยุคทองของวรรณคดี
30.สมเด็จพระเพทราชา(22312246)
ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสสิ้นสุดลง การค้ากับต่างประเทศลดลง
เกิดกบฏในเมืองต่างๆ 4 ครั้ง
31.สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ)22462251
เรื่องราวของพันท้ายสรสิงห์

32.สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (พระเจ้าท้ายสระ)22512275
ขุดคลองมหาไชยเชื่อมแม่น้ำแม่กลองกับแม่น้ำท่าจีน

33.สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ22752301$
ส่งสมณทูตไปฟื้นฟูพุทธศาสนาในลังกา
-มีความรุ่งเรืองด้านวรรณกรรม กวีสำคัญได้แก่ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร (เจ้าฟ้ากุ้ง)

34.สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด)
2301 (1 เดือน)

35.สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเยจ้าเอกทัศ)
23012310
เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 แก่พม่า เมื่อ พ.ศ. 2310 เป็นอันสิ้นสุดสมัยอยุธยา
การเมืองการปกครอง
สถาบันพระมหากษัตริย์
การปกครองของไทยในสมัยอยุธยา เปลี่ยนแปลงต่างไปจากสุโขทัยเพราะได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากเขมร (ขอม) เข้ามามาก โดยเฉพาะลัทธิเทวราช ซึ่งเขมรรับมาจากอินเดียอีกทอดหนึ่ง ลัทธินี้องค์พระมหากษัตริยืทรงเป็นสมมุติเทพอยู่เหนือบุคคลสามัญ ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุด ทรงไว้ซึ่งอาญาสิทธิ์เหนือผู้อื่นทั้งปวงในอาณาจักร คือ นอกจากจะทรงเป็นเจ้าของแผ่นดินแล้ว ยังทรงเป็นเจ้าของชีวิตราษฎรอีกด้วย
พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยา จึงมีฐานะแตกต่างนจากพระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัยอย่างมาก เช่น การเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ต้องหมอบคลานแสดงความอ่อนน้อม การพูดกับพระมหากษัตริย์ต้องใช้ราชาศัพท์ เมื่อเสด็จออกนอกพระราชวังราษฎรต้องหมอบกราบและก้มหน้า มีกฎมณเฑียรบาลห้ามมองพระพักตร์ของพระมหากษัตริย์ เนื่องจากพระองค์เป็นสมมุติเทพและเพื่อการป้องกันการทำร้ายพระองค์ สิ่งเหล่านี้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างองค์พระมหากษัตริย์กั้บประชาชนห่างเหินกัน ความใกล้ชิดแบบบิดาปกครองบุตรแบบสุโขทัยจึงน้อยลงทุกขณะ
นอกจากนี้ยังมีระเบียบแบบแผนเกี่ยวกับความปลอดภัยของพระมหากษัตริย์และราชบัลลังก์อีก เช่น ให้ถือเขตพระบรมมหาราชวังเป็นเขตหวงห้ามสำหรับประชาชนสามัญ มีการรักาความปลอดภัยเข้มงวด มีนายประตูดูแลตลอดเวลา มีมาตราป้อนกันมิให้เจ้าเมือง ลูกขุน ราชบุตร ราชนัดดาติดต่อกัน ต้องการให้แต่ละบุคคลแยกกันอยู่ เป็นการแยกกันเพื่อปกครอง มิให้มีการรวมกันได้ง่าย เพราะอาจคบคิดกันนำภัยมาสู่บ้านเมืองหรือราชบัลลังก์ได้
การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น พ.ศ. 18931991
การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ถึงรัชกาลพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) เป็นรูปแบบการปกครองที่ได้รับอิทิพลจากเขมรและสุโขทัยในลักษณะต่อไปนี้
1. การปกครองส่วนกลาง จัดการบริหารแบบจตุสดมภ์ หมายถึง การที่พระมหากษัตริย์เป็นผู้ปกครองโดยตรง ได้แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นกรมสำคัญ 4 กรม

ปฏิบัติหน้าที่ดังนี้

กรมเวียง หรือ กรมเมือง มีขุนเวียงเป็นหัวหน้า ทำหน้าที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของราษฎรทั่วราชอาณาจักร
กรมวัง มีขุนวังเป็นหัวหน้าดูแลรักษาพระราชวัง จัดงานพระราชพิธีต่างๆ และพิจารณาพิพากษาคดี
กรมคลัง มีขุนคลังเป็นหัวหน้า รับผิดชอบด้านการเงินและการต่างประเทศทั่วราชอาณาจักร ด้านการเงินทำหน้าที่เก็บภาษีอากร ใช้จ่ายพระราชทรัพย์ จัดแต่งสำเภาหลวงออกค้าขาย ในด้านต่างประเทศทำสัญญาการค้าและติดต่อทางการทูตกับต่างประเทศ
กรมนา มีขุนนาเป็นหัวหน้า ทำหน้าที่ดูแลเรือกสวนไร่นาทั่วราชอาณาจักร และจัดเตรียมเสบียงอาหารให้เพียงพอในยามบ้านเมืองมีศึกสงคราม
2. การปกครองส่วนภูมิภาค การจัดการปกครองส่วนภูมิภาค จัดตามแบบอาณาจักรสุโขทัย เพราะเมืองต่างๆ ส่วนใหญ่เคยอยู่ใต้อำนาจของอาณาจักรสุโขทัยมาก่อน
มีการแบ่งเมืองเป็นระดับชั้น มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลาง เมืองต่างๆ จัดแบ่งออกดังนี้
เมืองหน้าด่าน หรือ เมืองป้อมปราการ เป็นเมืองที่มีความสำคัญในการป้องกันราชธานี ระยะทางไปมาระหว่างเมองหน้าด่านกับราชธานีใช้เวลาเดินทางภายใน 2 วัน มักเป็นเมืองใหญ่หรือเมืองที่มีความสำคัญทางยุทธศสตร์ พระมหากษัตริย์จะแต่งตั้งพระราชโอรสหรือเจ้านายชั้นสูงไปปกครอง บางที่จึงเรียกว่า เมืองลูกหลวง
หัวเมืองชั้นใน คือ เมืองที่อยู่ถัดจากเมืองหน้าด่านออกไป พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งเจ้านายหรือขุนนางไปปกครอง ขึ้นตรงต่อเมืองหลวง
หัวเมืองชั้นนอก หรือ เมืองพระยามหานคร เป็นเมืองขนาดใหญ่ ที่มีประชาชนคนไทยอาศัย อยู่ห่างจากราชธานี ต้องใช้เวลาหลายวันในการติดต่อ มีเจ้าเมืองปกครอง อาจเป็นผู้สืบเชื้อสายจากเจ้าเมืองเดิม หรือเป็นผู้ที่ทางเมอืงหลวงต่างตั้งไปปกครอง
เมืองประเทศราช เป็นเมืองทีอ่ยู่ชายแดนของอาณาจักร ชาวเมืองเป็นคนต่างชาติต่างภาษา มีเจ้าเมืองเป็นคนท้องถิ่น จัดการปหกครองภายในของตนเอง แต้องส่งเครื่องบรรณาการมาถวายตามกำหนด ได้แก่ ยะโฮร์ เขมร และเชียงใหม่ (ล้านนา)
การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง พ.ศ. 19912072
เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นครองราชย์ (พ.ศ. 19912031) พระองค์ทรงปรับปรุงระเบียบการปกครองใหม่ เพราะเห็นว่าการปกครองแบบเก่ายังหละหลวม กรุงศรีอยุธยาควบคุมดูแลเมืองในส่วนภูมิภาคได้ไม่ทั่วถึง บรรดาเมืองต่างๆ เบียดบังรายได้จากภาษีอากรไว้ ทำให้ราชธานีได้รับผลประโยชน์ไม่เต็มที่ นอกจากนั้นในระยะที่มีการผลัดแผ่นดิน หากกษัตริย์พระองค์ใหม่ทรงเข้มแข็ง มีอำนาจ ก็จะไม่มีปัญหาทางการปกครอง แต่หากกษัตริย์พระองค์ใหม่ทรงอ่อนแอไม่เด็ดขาดหรือยังทรงพระเยาว์อยู่ บรรดาเมืองประเทศราชและเมืองพระยามหานคร มักฉวยโอกาสแยกตนเป็นอิสระอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่าน เจ้าเมืองมีอำนาจมากและมักจะยกกำลังทหารทหารเข้ามาแย่งชิงราชสมบัติอยู่เนืองๆ และอาณาจักรอยุธยาในสมัยนี้มีอาณาเขตกว้างขวางมากกว่าเดิม สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงต้องปรรับปรุงการปกครองใหม่ มีลักษณะสำคัญสองประการ คือ จัดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ทำให้ราชธานีมีอำนาจและมีการควบคุมเข้มงวดขึ้น และแยกกิจการฝ่ายพลเรือนกับฝ่ายทหารออกจากกัน (เป็นครั้งแรก) สาระสำคัญที่เปลี่ยนไปมีดังนี้
1. การปกครองส่วนกลาง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้มีตำแหน่งสมุหกลาโหมและสมุหนายก สมุหกลาโหม รับผิดชอบด้านการทหาร มีหน้าที่บังคับบัญชา
ตรวจตราการทหาร เกณฑ์ไพร่พลในยามมีศึก ยามสงบรวบรวมผู้คน อาวุธ เตรียมพร้อม สมุหนายก ทำหน้าที่บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ยพลเรือนทั่วราชอาณาจักรและดูแลจดุสดมภ์ พระองค์ได้ทรงกำหนดหน่วยงานระดับกรม (เทียบได้กับกระทรวงในปัจจุบัน) ขึ้นอีก 2 กรม จึงมีหน่วยงานทางการปกครอง 6 กรม กรมใหม่ที่จัดตั้งขึ้นมีเสนาบดีรับผิดชอบในหน้าที่ ดังนี้
กรมมหาดไทย มีพระยาจักรีศรีองครักษ์เป็นสมุหนายก มีฐานะเป็นอัตรมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการพลเรือนทั่วประแทศ
กรมกลาโหม มีพระยามหาเสนาเป็นสมุหพระกลาโหม มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการทหารทั่วประเทศ
พร้อมกันนี้ได้ปรับปรุงกรมจตุสดมภ์เสียใหม ให้มีเสนาบดีรับผิดชอบงานในหน้าที่ของแต่ละกรม คือ

กรมเมือง มีพระนครบาลเป็นเสนาบดี
กรมวัง มีพระธรรมาธิกรณ์เป็นเสนาบดี
กรมคลัง มีพระโกษาธิบดีเป็นเสนาบดี
กรมนา มีพระเกษตราธิการเป็นเสนาบดี
2. การปกครองส่วนภูมิภาค สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดฯ ให้ยกเลิกเมืองหน้าด่านหรือเมืองลูกหลวง ให้จัดการปกครองหัวเมืองในส่วนภูมิภาค ดังนี้
หัวเมืองชั้นใน จัดเป็นเมืองชั้นจัตวา ผู้ปกครองเมืองเรียกว่า ผู้รั้งไม่มีอำนาจอย่างเจ้าเมือง ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของราชธานี เป็นเมืองที่ตั้งอยู่โดยรอบราช
ธานี เช่น ชัยนาท นครสวรรค์ สุพรรณบุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และชลบุรี เป็นต้น พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งขุนนางในกรุงศรีอยุธยาไปทำหน้าที่ผู้รั้งเมือง
หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ เมืองที่อยู่ถัดจากหัวเมืองชั้นในออกไป (ซึ่งเป็นเมืองพระยามหานครในสมัยก่อน) จัดเป็นหัวเมืองชั้นตรี โท เอก ตามขนาดและความสำคัญของเมืองนั้นๆ อาจมีเมืองเล็กขึ้นด้วยพระมหากษัตริย์ทารงแต่งตั้งเจ้านายในพระราชวงศ์หรือขุนนางผู้ใหญ่ออกไปปกครองเป็นเจ้าเมือง มีอำนาจเต้มในการบริหารราชการภายในเมือง
เมืองประเทศราช โปรดฯ ให้มีการจัดการปกครองเหมือนเดิม คือ ให้มีเจ้านายในท้องถิ่น เป็นเจ้าเมือง หรือกษัตริย์ มีแบบแผนขนบ๔รรมเนียมเป็นของตนเอง พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาเป็นผู้ทรงแต่งตั้ง เมืองประเทศราชมีหน้าที่ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย พ.ศ. 20722310
การจัดการปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางตามที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงวางรากฐานไว้คงใช้มาตลอด แต่ได้มีการแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะกับสภาพบ้านเมืองยิ่งขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ (พ.ศ. 21992231) ทรงให้ยกเลิกการแยกความรับผิดชอบของอัครมหาเสนาบดีเกี่ยวกับงานด้านพลเรือนของสมุหนายก และงานด้านทหารของสมุหกลาโหม โดยให้สมุหกลาโหมรับผิดชอบทั้งด้านทหารและพลเรือน ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือและหัวเมืองอีสาน ส่วนหัวเมืองตอนกลาง และหัวเมืองชายทะเลตะวันออก ให้อยู่ในอำนาจของเมืองหลวงโดยตรง ทั้งนี้ด้วยพระองค์ทรงเห็นว่าการแยกกิจการฝ่ายทหารและฝ่ายทหารและฝ่ยพลเรือนจากกันอย่างเด็ดขาด ไม่อาจทำได้อย่างได้ผลดี โดยเฉพาะในยามสงคราม บ้านเมืองต้องการกำลังพลในการสู้รบจำนวนมาก ชายฉกรรจ์ต้องออกรบเพื่อชาติบ้านเมืองทุกคน จึงเป็นการยากในทางปฏิบัติ อีกประการหนึ่ง มีบทเรียนที่แสดงให้เห็นว่า เมื่อให้สมุหกลาโหมคุมกำลังทหารไว้มาก ทำให้สามารถล้มราชวงศ์กษัตริย์ลงได้
เศรษฐกิจ
เกษตรกรรม อยุธยาตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำและดินดีอุดมสมบูรณ์ จึงมีการปลูกข้ามกันทั่วไป รองลงมาก็เป็นไม้ยืนต้น เช่น มะม่วง มะพร้าว หมาก และพืชผักผลไม้ เช่น ฝ้าย พริกไทย พริก หอม กระเทียม เป็นต้น
การทำนาทำสวนในสมัยอยุธยาให้ผลผลิตที่ดีและมีรายได้สูง ราษฎรเสีย อากรด่านและอากรสวน ได้โดยไม่เดือดร้อน มีข้าว พืชผัก ผลไม้เป็นอาหารเพียงพอแก่การบริโภคในแต่ละครัวเรือน ผลผลิตที่เหลือจากการบริโภคนำไปเป็นสินค้าส่งออก เช่น ข้าว เป็นที่ต้องการของต่างปรแทศทั่วไป หมาก ขายให้จีน อินเดีย และโปรตุเกสที่มาเก๊า ฝ้าย มะพร้าว ขายให้ญี่ปุ่น มะละกา ฮอลันดา ฝรี่งเศส ญวน เขมร จีน
อุตสาหกรรม การอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มุ่งเพื่อการบริโภคในประเทศ ได้แก่ เครื่องใช้ในครัวเรือนมี เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องจักสาน เครื่องเหล็ก เพื่อการเกษตรมี ผาล จอบ เสียม มีด ฯลฯ ทั้งที่ใช้เป็นอุปกรณ์การงานและอาวุธ (หมู่บ้านอรัญญิก) เครื่องปั้นดินเผา เครื่องเคลือบดินเผา การต่อเรือเพื่อการคมนาคม การประมง และการบรรทุกสินค้า อุตสาหกรรมส่งออกมีจำนวนน้อย ที่พบคือน้ำตาล
พานิชยกรรม ทำเลที่ตั้งของอยุธยาสะดวกแก่การคมนาคมทางน้ำ เพราะมีแม่น้ำหลายสายและไม่ห่างจากปากน้ำเกินไป การนำสินค้าเข้าและออกทางทะเลทำได้สะดวก อาณาจักรที่อยู่เหนือขึ้นไป คือ สุโขทัย และล้านนา ก็จำเป็นต้องใช้อยุธยาเป็นทางผ่านสู่ทะเล ทำให้อยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้า อยุธยาจึงมีการขายเป็นอาชีพหลักอีกอย่างหนึ่งนอกเหนือจากการเกษตร
ในสมัยอยุธยาตอนต้น มีการค้าขายกับจีน ญี่ปุ่น อาหรับ มลายู อินเดีย ชวา และฟิลิปปินส์ การค้ากับต่างประเทศในสมัยแรกมีลักษณะค่อนข้างจะเสรี ยังไม่มีการผูกขาดมากดังเช่นในสมัยหลัง การค้าสำเภาส่วนใหญ่เป็นของพระมหากษัตริย์ เจ้านาย ขุนนาง และพ่อค้าชาวจีน
ครั้นถึงรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงปฏิรูปการปกครองอาณาจักร สามารถควบคุมหัวเมืองต่างๆ ได้รัดกุม เก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่รั่วไหล ล่าช้า สินค้าจากหัวเมืองเป็นสิ่งที่พ่อค้าต่างชาติต้องการจึงส่งเป็นสินค้าออก การค้าขายต่างประเทศขยายตัวออกไปกว้างขวางกว่าสมัยก่อน จนมีพ่อค้าชาวตะวันตกเข้ามาค้าขาย คือ โปรตุเกส เป็นชาติแรก หลังจากนั้นก็มีชาติตะวันตกอื่นๆ เข้ามาอีก ได้แก่ สเปน ฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศส
ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเป็นต้นมา เริ่มมีการจัดระบบผูกขาดทางการค้า โดยกำหนดให้สินค้าบางอย่างเป็นสินค้าบางอย่างเป็นสินค้าต้องห้าม ซึ่งการซื้อขายต้องผ่านพระคลังสินค้า ในระยะต่อมาการผูกขาดยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น มีการเพิ่มรายการสินค้าต้องห้ามให้มากขึ้น ทำให้รายได้จากการค้าขายเป็นรายได้สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของกรุงศรีอยุธยาสมัยหลัง

สังคมและศิลปวัฒนธรรม
สภาพสังคมทั่วไป
กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มมีแม่น้ำล้อมรอบ ราษฎรตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำลำคลอง เป็นครอบครัวขนาดใหญ่ มักจะมีปู่ย่าหรือตายายและหลานรวมอยู่ด้วย มีความเป็นอยู่ง่ายๆ ใฝ่ธรรมเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา วัดเป็นศูนย์กลางของสังคม เป็นที่เล่าเรียนของเด็กชายที่จะศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาต่างๆ และเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์ของชุมชนในงานพิธีทางศาสนา และเทศกาลงานประเพณีต่างๆ
ระบบศักดินา
สังคมอยุธยาเป็นสังคมของชนชั้น คือ มีการแบ่งชั้นว่าใครชั้นสูงกว่าใคร การแบ่งชนชั้นนี้คงจะได้รับอิทธิพลมาจากขอมในสมัยสุโขทัย และเมื่อตอนก่อตั้งกรุงศรีอยุธยาของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) แล้ว เพียงแต่ยังไม่ชัดเจน สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงบัญญัติกฎหมายกำหนดให้บุคคลมีชั้นสูงต่ำกว่ากันตามศักดินา
ศักดินา คือ ศักดิ์ของบุคคลที่มีสิทธิที่จะถือครองกรรมสิทธิ์ในที่นาได้ตามจำนวนที่กำหนดไว้ หรือ กล่าวสั้นๆ ว่า ศักดินา คือ ศักดิ์ที่จะมีนา เช่น กฎหมายกำหนดว่าพระภิกษุผู้รู้ธรรมมีศักดินา 600 หมายความว่า พระภิกษุผู้รู้ธรรมแต่ละรูปมีศักดิ์ที่จะถือครองกรรมสิทธิ์ที่นาได้ 600 ไร่ หรือ ไพร่มีศักดินา 10 หมายความว่า ไพร่ทุกคนมีศักดิ์ที่จะมีที่นาได้คนละ 10 ไร่ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ศักดินา นี้คงเป็นเพียง ศักดิ์ หรือ สิทธิ์ ที่จะมีที่นาเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องมีที่นาตามจำนวนที่กำหนดไว้จริงๆ เช่น กำหนดว่า สมุหนายกมีศักดินา 10,000 ก็มิได้หมายความว่าผู้ที่ดำรงตำแหน่งสมุหนายกจะต้องมีทีนาครบ 10,000 ไร่จริงๆ
องค์ประกอบของสังคมอยุธยา
เนื่องจากอยุธยาได้รับอิทธิพลจากเขมรในด้านต่างๆ เช่น ศิลปวิทยา ระบอบการปกครอง และความเชื่อในเทพเจ้าและพิธีกรรมต่างๆ ของศาสนาพราหมณ์ ทำให้ฐานะของพระมหากษัตริย์ไทยเปลี่ยนแปลงจากพ่อขุนหรือปิตุราช ไปในทางเป็นสมมุติเทพหรือเทวราชตามคตินิยมของพราหมณ์ เมื่อฐานะของพระมหากษัตริย์ได้รับการเทิดทูนเทียบเท่าเทพเจ้า ฐานะของพระราชองค์ และข้าราชการผู้ใหญ่อื่นๆ รองลงไปก็เพิ่มความสำคัญและมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะระบบศักดินาที่ได้รับอิทธิพลจากเขมรช่วยให้ผู้มีตำแหน่งหน้าที่ราชการมีอภิสิทธิ์เหนือราษฎรสามัญ เกิดระบบเจ้าขุนมูลนาย มีบ่าวมีทาสทำให้ประชาชนนิยมยกย่องระบบราชการ มุ่งให้ลูกหลานเอาดีทางรับราชการมากกว่าจะสนใจทำการค้าหรืออาชีพอื่นซึ่งเป็นค่านิยมที่ฝังแน่นต่อมาช้านาน

สังคมอยุธยามีสถาบันต่างๆ เป็นองค์ประกอบดังนี้
1. พระมหากษัตริย์ ทรงดำรงฐานะเป็น เจ้าแผ่นดิน และ เจ้าชีวิต ทรงเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจและทรงมีตำแหน่งสูงสุดในสังคม ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาดในการ
ปกครองบริหารบ้านเมือง ให้มีความสงบร่มเย็น และป้องกันอาณาจักรให้ปลอดภัยจากการรุกราน
2. เจ้านาย คำว่า เจ้านาย หมายถึง เชื้อพระวงศ์ของพระมหากษัตริย์ เจ้านายเป็นชนชั้นที่ได้รับเกียรติยศ อภิสิทธิ์ มาแต่กำเนิด ส่วนจะมีอำนาจมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่
กับตำแหน่งหน้าที่ทางราชการ กำลังคนในความควบคุม และการได้รับการโปรดปรานจากพระมหากษัตริย์
3. ขุนนาง หรือ ข้าราชการ ข้าราชการเป็นชนชั้นที่มีอำนาจและอภิสิทธิ์ เป็นจักรกลในการบริหารการปกครองของพระมหากษัตริย์ ทำหน้าที่ควบคุมดูแลทุกข์สุขของ
ราษฎรแทนพระมหากษัตริย์ โดยได้รับสิ่งตอบแทนในการทำงานเป็นยศ ตำแหน่ง อำนาจ และทรัพย์สมบัติ
4. พระสงฆ์ เป็นชนชั้นที่มีฐานะทางสังคม ไม่เกี่ยวข้องกับการปกครองบ้านเมืองโดยตรงสมาชิกของสังคมสงฆ์มาจากชนชั้น และเข้ามาอยู่ร่วมกันด้วยวิธีการบวช
เท่านั้น ฐานะของพระสงห์ได้รับการยอมรับนับถือเคารพกราบไหว้จากบุคคลทุกชั้นในสังคม ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ลงมา
5. ไพร่ คำว่า ไพร่ หมายถึง ราษฎรสามัญทั่วไป ไพร่ที่เป็นชายจะต้องขึ้นทะเบียนสังกัดมูลนายตามกฎหมายที่กำหนด มูลนายของไพร่ คือ เจ้านาย ขุนนาง ที่เป็น
ผู้บังคับบัญชาควบคุมไพร่ หรือเจ้าสังกัดของไพร่ ไพร่ในสมัยอยุธยาเป็นกลุ่มคนที่เป็นกำลังของบ้านเมือง เป็นชนชั้นที่อยู่ใต้อำนาจการปกครองหรือถูกปกครอง มีอิสรเสรีภาพตามข้อกำหนดของกฎหมาย มีหน้าที่รับผิดชอบต่อบ้านเมือง คือ ต้องเป็นทหารออกสู้รบในยามสงคราม ในยามปกติจะต้องถูกเกณฑ์มาเข้าเวรช่วยราชการ สร้างสิ่งสาธารณะประโยชน์พัฒนาบ้านเมืองโดยไม่มีค่าตอบแทนหรือค่าแรง เมื่อพ้นกำหนดการเข้าเวรแล้วจะกลับไปอยู่กับครอบครัว ประเกอบอาชีพของตนโดยอิสระ
6. ทาส ทาสเป็นกลุ่มชนชั้นต่ำสุดของสังคม มีจำนวนน้อย ทาสเป็นผู้ขาดอิสรภาพ การตกเป็นทาสอาจเนื่องมาจากการเป็นเชลยหรือการขายตัวเป็นทาส ทาสมีหน้าที่รับใช้นายทาสตามแต่นายจะมีประสงค์ นายทาสหรือเจ้าของทาสเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในตัวทาส เสมือนหนึ่งว่าทาสเป็นทรัพย์สิ่งของธรรมดาอย่างหนึ่ง จะเอาไปขายต่อหรือให้เช่าแรงงานก็ได้ จะลงโทษเฆียนตี ใส่ขื่อคาอย่างไรก็ได้ ยกเว้นการลงโทษทาสจนถึงแก่ความตายนายทาสจึงจะมีความผิด ทาสเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้บ้าง มีศักดินา 5 ไร่ มีสิทธิได้รับมรดกหรือทำสัญญาได้ ตลอดจนมีสิทธิไถ่ถอนตนเองเป็นอิสระได้ ด้วยเหตุนี้การเป็นทาสในสังคมไทยจึงมิได้เป็นไปอย่งถาวร นอกจากทาสเชลยเท่านั้นที่ไม่มีโอกาสเป็นอิสระ

ศิลปวัฒนธรรม
อาณาจักรอยุธยามีอายุนาน 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครองสืบทอดกันมาถึง 34 พระองค์และได้สร้างความเจริญให้แก่ชาติบ้านเมืองมากมาย โดยเฉพาะทางศิลปวัฒนธรรม แม้อยุธยาจะได้รับผลกระทบจากสงครามใหญ่กับพม่าถึง 2 ครั้ง แต่มรดกทางวัฒนธรรมก็มิได้สลายไปด้วย ศิลปะสมัยอยุธยาส่วนใหญ่เป็นถาวรวัตถุที่ก่อสร้างเนื่องในพระพุทธศาสนาแทบทั้งสิ้น ลักษณะของศิลปะเป็นแบบผสมผสานระหว่างสกุลช่าง ทวารวดี และ สุโขทัย เช่น ที่วัดชัยวัฒนาราม มีสถาปัตยกรรมทั้งพระปรางค์ ซึ่งเป็นศิลปะลพบุรี และเจดีย์ทรงลังกาซึ่งเป็นศิลปะแบบสุโขทัย ส่วนทางด้านประติมากรรมก็มี พระพุทธรูปทรงเครื่อง ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะเด่นของพระพุทธรูปสมัยอยุธยา
ศิลปหัตถกรรมสมัยอยุธยาถือว่าเจริญสูงสุดเหนือกว่าสมัยใดๆ ที่สำคํญได้แก่ ธรรมาสน์ ตู้พระธรรม ตู้ลายรดน้ำ รวมทั้งโบราณวัตถุที่ขุดพบในพระเจดีย์และพระปรางค์ นอกจากนี้ยังมีเครื่องถ้วยจีนซึ่งออกแบบเป็นลวดลายไทยเรียกว่า เครื่องถ้วยเบญจรงค์ ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องถ้วยที่สวยงามมาก
พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ได้สร้างความเจริญในด้านต่างๆ ไว้แก่ประเทศมากมาย ศิลปกรรมเกือบทุกแขนงไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม วรรณกรรม นาฎกรรม รวมทั้งพระพุทธศาสนาที่มีอยู่ในบ้านเมืองเราปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่เป็นมรดกตกทอดมาจากอยุธยาแทบทั้งสิ้น ซากโบราณสถานและโบราณวัตถุที่เราพบเห็นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงความิยิ่งใหญ่ของอาณาจักรนี้

การศึกษา
การศึกษาในสมัยอยุธยาอยู่ในวงแคบ การถ่ายทอดวิชาต่างๆ ยังสงวนไว้กับลูกหลานภายในครอบครัว แต่การศึกษาก็มีส่วนช่วยสร้างความเจริญความก้าวหน้าให้แก่อยุธยามิใช่น้อย แหล่งการศึกษาที่สำคัญในสมัยนั้น ได้แก่
1. วัด พ่อแม่ที่ต้องการให้บุตรหลานได้รับการศึกษา จะนำไปฝากวัด การศึกษาในวัดเป็นการหัดอ่านเขียนและคิดเลข ศึกษาหลักธรรมและขนบธรรมเนียม พิธีกรรมใน
พระพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังมีการเรียนเวทมนตร์คาถาอยู่ยงคงกระพันเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจเมื่อออกศึกสงคราม ส่วนวิชาช่างก็สามารถหาเรียนได้ตามวัด เพราะวัดเป็นแหล่งรวมช่างฝีมือและศิลปกรรมอยู่มาก
2. บ้าน การศึกษาน้านส่วนใหญ่เป็นการศึกษาแกบบสืบทอดวิชาความรู้กันในวงศ์ตระกูลสำหรับเด็กผู้ชายมีลักษณะเป็นการสืบทอดอาชีพ เช่น งานตีเหล็ก งานแกะสลัก
งานทำเครื่องเงินทองและฝึกหัดเพื่อเตรีรยมตัวเข้ารับราชการ เป็นต้น ขณะเดียวกันบ้านก็เป็นสถานที่อบรมเด็กผู้หญิงในด้านงานบ้านงานเรือน เช่น ทำอาหาร เย็บปักถักร้อย เพื่อเตรียมตัวเป็นแม่บ้านที่ดีต่อไป
3. วัง วังเป็นแหล่งวิชาการชั้นสูง เป็นศูนย์รวมศิลปวัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมืองอาณาจักร แต่ก็มีลักษณะเป็นการเล่าเรียนวงแคบเช่นเดียวกัน คือ จำกัดอยู่ในหมู

เจ้านายเท่านั้น วังนับเป็นแหล่งศึกษาที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นที่รวมของนักปราชญ์ราชบัณฑิตทั้งหลาย
ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน
ความสัมพันธ์กับสุโขทัยและล้านนา
ความสัมพันธ์ที่อยุธยามีต่อสุโขทัยและล้านนา ซึ่งเป็นอาณาจักรคนไทยด้วยกัน ขึ้นอยู่กับนโยบายและพระปรีชาสามารถของกษัตริย์แต่ละรัชกาลเป็นสำคัญ
ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ทรงมีนโยบายที่จะรวบรวมอาณาจักรสุโขทัยให้อยู่ในอำนาจอยุธยาให้จงได้ จึงยกทัพไปรุกรานสุโขทัยถึง 5 ครั้ง เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1914 เป็นต้นมา ในทีสุดก็ดีเมืองชากังราวของสุโขทัยได้สำเร็จใน พ.ศ. 1921 เป็นผลให้สุโขทัยตกเป็นประเทศราชของอยุธยาอยู่ 10 ปี
พ.ศ. 1962 สุโขทัยเกิดจลาจลชิงราชสมบัติกัน สมเด็จพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์) แห่งกรุงศรีอยุธยา เสด็จไประงับการจลาจล และได้ทรงขอพระราชธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสยลือไทย) อภิเษกสมรสกับเจ้าสามพระยา พระราชโอรสของพระองค์ นับเป็นครั้งแรกที่มีการสร้างเครือญาติโดยการอภิเษกสมรสในระหว่างราชวงศ์ของทั้งสองอาณาจักร จนถึงสิ้นรัชกาลพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) ของสุโขทัย สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) จึงส่งให้พระราเมศวรพระราชโอรส ซี่งมีพระราชชนนีเป็นพระราชธิดาพระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสยลือไทย) แห่งกรุงสุโขทัยขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก เมื่อ พ.ศ. 1981 และผนวกสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนี่งของอาณาจักรอยุธยาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
สำหรับล้านนา (เชียงใหม่) สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ยกทัพไปตีเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 1921 แต่ไม่สำเร็จ จนถึง พ.ศ. 1935 ในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร จึงสามารถตีล้านนาได้
ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ อยุธยากับล้านนาทำสงครามกันหลายครั้ง แต่ไม่แพ้ชนะกันโดยเด็ดขาด ต่อมาใน พ.ศ. 2065 ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐาธิราช) อยุธยาได้ขอทำไมตรีกับล้านนา
ครั้นถึงสมัยพระไชยราชาธิราช ล้านนาตกเป็นประเทศราชของยุธยา ระยะนี้ไทยเริ่มทำสงครามกับพม่า อันเป็นสงครามที่ยึดเยื้อต่อมาถึง 300 ปี และเนื่องจากล้านนาอยู่กึ่งกลางระหว่างอยุธยากับพม่าประกอบกับล้านนาไม่มีกำลังพอที่จะรักษาเอกราชของตนไว้ได้ จึงตกเป็นเมืองขึ้นของไทยและพม่าสลับกันไปมาสุดแต่ว่าฝ่ายใดจะมีอำนาจขึ้น ครั้งสุดท้ายพม่าตีล้านนาได้ใน พ.ศ. 2306 และใช้เป็นฐานกำลังยกมาตีกรุงศรีอยุธยา ทำให้ไทยเสียกรุงศรีอยะยาครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2310
ความสัมพันธ์กับจีน
ไทยมีความสัมพันธ์กับจีนมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เมื่อสุโขทัยเสื่อมอำนาจลง พระมหากษัตริย์และเจ้านายสมัยอยุธยาได้เจริญไมตรีกับจีนสืบต่อมา นโยบายการเมืองระหว่างประเทศทีอยุธยามีต่อจีนนั้นมีลักษณะในทางให้จีนยอมรับสถานภาพโดยการส่งเครื่องบรรณาการเพื่อเป็นเกราะป้องกันภัย และประโยชน์ทางการค้า เนื่องด้วยจีนไม่ยอมติดต่อค้าขายกับประเทศที่ไม่ยอมอ่อนน้อมต่อจีน เมื่อทูตของประเทศที่จีนถือว่าอยู่ในอารักขาไปติดต่อด้วย จะได้รับการต้องรับและได้สิทธิทางการค้า และเมื่อมีปัญหาทางการเมืองก็พึ่งจีนได้ด้วย
ความสัมพันธ์กับเขมร
เมื่อพระเจ้าอู่ทองสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานี เป็นช่วงที่เขมร (ขอม) เสื่อมอำนาจแล้วระยะแรกเขมรและกรุงศรีอยุธยาเป็นไมตรีกัน ต่อมาเขมรตัดไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาหันไปมีไมตรีกับสุโขทัยแทน พระเจ้าอู่ทองเห็นว่า ขอมแปรพักตร์ จึงโปรดยกกองทัพไปตีจนเป็นผลสำเร็จใน พ.ศ. 1896 เขมรจึงตกเป็นประเทศของไทยตั้งแต่ครั้งนั้น แต่ฐานะประเทศของเขมรไม่เป็นการถาวร เพราะเขมรพยายามตั้งตนเป็นอิสระอยู่เนืองๆ ไทยต้องยกทัพไปปราบปรามเขมรหลายครั้ง
ความสัมพันธ์กับลาว
ความสัมพันธ์ระเหว่างอาณาจักรอยุธยากับกรุงศรีสัตนาคนหุตหรือล้านช้างของลาวนั้น กล่าวได้ว่ามีไมตรีที่ดีต่อกันมาตั้งแต่เริ่มสร้างกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 1891
ต่อมาอาณาจักรอยุธยามีอำนาจเข้มแข็งขึ้น เมืองต่างๆ ที่เคยขึ้นกับพม่า เช่น มอญ ลาว เป็นต้น ต่างมาอ่อนน้อมขอเป็นประเทศราชของอาณาจักรอยุธยา โดยทีกรุงศรีอยุธยาไม่ต้องส่งกองทัพเข้ารบพุ่งหรือบีบบังคับแต่อย่างใด ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวจึงเป็นไปแบบเป็นเมืองพี่เมืองน้องกันมาตลอด (ความสัมพันธ์อันดีที่มีต่อกันยืนยงมาจนกระทั่งถึงต้นรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงศ์ตั้งตนเป็นอิสระแต่ทำการไม่สำเร็จ ลาวจึงอยู่ในฐานะเป็นประเทศราชของไทยมาจนถึงสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลาวจีงตกไปเป็นของฝรั่งเศส)
ความสัมพันธ์กับพม่า
เดิมพม่ามิได้มีอาณาเขตติดต่อกับอาณาจักรอยุธยา เพราะมีประเทศมอญขวางอยู่ และทางเหนือก็มีล้านนากั้นอยู่ พม่านั้นมีที่ตั้งลึกเข้าไปในแผ่นดิน ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศไม่สะดวก และผืนดินไม่สมบูรณ์จึงพยายามขยายอาณาเขตมายังดินแดนมอญ เพราะเป็นประเทศอุดมสมบูรณ์อยู่ติดทะเล ไปมาค้าขายกับนานาประเทศได้สะดวก
สงครามระหว่างกรุงศรีอยุธยากับพม่าครั้งแรกเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ กับ สมเด็จพระไชยราชาธิราช สมัยนั้นกรุงศรีอยุธยามีอำนาจครอบคลุมไปถึงหัวเมืองมอญบางแห่งด้วย เมื่อพระเจ้าตะเบ็งซะเวตี้กษัตริย์พม่าตีกรุงหงสาวดีเมืองหลวงของมอญได้ใน พ.ศ. 2082 ชาวมอญจำนวนมากอพยพหนีมายังเมืองเชียงกรานเมืองประเทศราชของไทย พม่าจึงถือเอาเป็นสาเหตุเข้าตีเมืองเมืองเชียงกราน สมเด็จพระไชยราชาธิราชกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยูธยาเป็นฝ่ายยกไปตีคืนสำเร็จ แต่การที่พม่าได้หัวเมืองมอญไว้ในอำนาจก้ทำให้พม่ามีเขตแดนติดต่อกับอาณาจักรอยุธยา และเกิดการประจันหน้ากันแต่บัดนั้นมา
การสงครามระหว่างพม่ากับกรุงศรีอยุธยาแทบทุกครั้งเกิดจากการรุกรานของพม่า ตลอดสมัยอยุธยามีการทำสงครามกับพม่า 24 ครั้ง กรุงศรีอยุธยาเป็นฝ่ายถูกรุกรานแทบทุกครั้ง มีเพียง 3 ครั้ง เท่านั้นที่กรุงศรีอยุธยาเป็นฝ่ายยกไปตีพม่า คือ ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกทัพไปตีกรุงหงสาวดี 2 ครั้ง เมื่อ พ.ศ. 2138 และ พ.ศ. 2142 และในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชอีก 1 ครั้ง เมื่อ พ.ศ. 2207


สงครามสำคัญกับพม่า
สงครามช้างเผือก พระเจ้าบุเรงนองขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีแสนยานุภาพมาก ได้ทำสงครามขยายอาราเขตรวมเมืองต่างๆ เข้าเป็นเมืองขึ้นมากมาย พม่าหาเหตุมาตีไทยโดยส่งทูตมาขอช้างเผือก 2 เชือก แต่ทางไทยไม่ให้ พม่าจึงยกทัพเข้ามาตีเมือง พ.ศ. 2106 ผลที่สุดไทยยอมสงบศึกและยอมส่งตัวพระราเมศวร พระยาจักรี พระสุนทรสงครามไปเป็นตัวประกัน และให้ช้างเผือกอีก 4 เชือก พร้อมทั้งส่งส่วยประจำปีให้พม่า
สงครามเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 1 หลังจากสงครามช้างเผือกสิ้นสุดลง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรางพยายามปรับปรุงกรุงศรีอยุธยาเพื่อเตรียมรับศึกพม่าที่จะมีมาอีก แต่เนื่องจากทรงยอมให้เจ้าเมืองสำคัญๆ ปกครองอย่างเป็นอิสระ ประกอบกับเกิดความขัดแย้งกันระหว่างพระมหินทร์ ราชโอรสของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ กับพระมหาธรรมราชาพระญาติผู้ใหญ่ซึ่งเป็นเจ้าเมืองพิษณุโลก ทำให้อยุธยาอ่อนแอลง พม่าจึงยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2111 ขณะนั้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิประชวร และสวรรคตในเวลาต่อมา สมเด็จพระมหินทราธิราชขึ้นครองราชย์ พม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาเป็นเวลานาน จนจวนจะถึงฤดูน้ำหลากก็ยังตีกรุงศรีอยุธยาไม่ได้สำเร็จ พม่าจึงใช้กลอุบายยุยงคนไทย โดยการส่งพระยาจักรีซึ่งเป็นตัวประกันอยู่พม่า ครั้งก่อนเข้ามาเป็นไส้ศึก กรุงศรีอยุธยาจึงเสียแก่พม่าใน พ.ศ. 2112
สงครามยุทธหัตถี หลังจากที่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่านานถึง 15 ปี สมเด็จพระนเรศวรก็สามารถกู้อิสรภาพคืนมาได้ โดยประกาศอิสรภาพที่เมืองแครงใน พ.ศ. 2127 พม่ายกทัพมาปราบปรามหลายครั้งแต่เอาชนะไม่ได้ สมเด็จพระนเรศวรรบชนะในสงครามยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา ที่อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี เมือ่ พ.ศ. 2135 ชัยชนะครั้งนั้นทำให้พระเกียรติยศ และความกล้าหาญเข้มแข็งของสมเด็จพระนเรศวรเลื่องลือไปทั่ว ทำให้กรุงศรีอยุธยาปราศจากข้าศึกรบกวนเป็นเวลานานถึง 150 ปี

สงครามเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2303 ซึ่งเป็นสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ พระเจ้าอลองพญาเห็นว่ากรุงศรีอยุธยา ขณะนั้นอ่อนแอ จึงยกกองทัพมาล้อม แต่มีอุบัติเหตุเป็นแตกถูกพระเจ้าอลอลพญา บาดเจ็บสาหัสจึงยกทัพกลับ และสวรรคตระหว่างทาง พอดีเกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้นในพม่าทำให้ต้องปราบปรามอยู่ ระยะหนึ่ง ครั้นบ้านเมืองสงบเรียบร้อยแล้วใน พ.ศ. 2309 พม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่นานประมาณ 1 ปี 2 เดือน จึงเข้ากรุงศรีอยุธยาได้ และจุดไฟเผาจนหมดสิ้นใน พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาราชธานีไทย ซึ่งรุ่งเรืองมา 417 ปี ก็ถึงกาลวิบัติในครั้งนั้น

1 ความคิดเห็น:

  1. Lucky 15 Casino in New York City - Mapyro
    This is a fun way to find the Lucky 15 Casino 파주 출장안마 in New 서울특별 출장안마 York City. It is located just west 경주 출장안마 of Foxwoods. The Lucky 15 casino features over 2,000 군포 출장마사지 slot games, 당진 출장샵

    ตอบลบ