“ยุทธศาสตร์ยิ่งใหญ่ ความตั้งใจ เด็ดเดี่ยว
มื้อนี้เราจะเคี้ยวข้าว
แล้วทุบหม้อข้าว
ตีแหกฝ่าวงล้อม
ลุยพม่าข้าศึก
นึกถึงความเป็นไทย
ดีกว่าไปเป็นทาส”
“เห็นมาเป็นเพลงแบบนี้คงนึกออกกันใช่ไหมค่ะว่าดาวเรืองจะพูดถึงอะไร
เพลงนี้มีชื่อว่า พระเจ้าตากค่ะ
แน่นอนว่าในบทความนี้เราจะพูดถึงอาณาจักรที่มีชื่อว่า กรุงธนบุรี อ้าวแล้วเกี่ยวอะไรกับเพลงละค่ะ
?พระเจ้าตากกรุงธนบุรีคนละคำนะ เดี๋ยวอย่าพึ่งตกใจไปก็เพราะว่าพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นผู้สถาปนาอาณาจักรนี้ขึ้นมานั้นเองอย่าให้เสียเวลาเลยค่ะมาศึกษาอาณาจักรธนบุรีกันดีกว่า”
อาณาจักรธนบุรี
การสถาปนากรุงธนบุรี ภายหลังการสูญเสียกรุงศรีอยุธยา แก่พม่าแล้ว
บ้านเมืองอยู่ในสภาพระส่ำระสาย ขาดพระเจ้าแผ่นดินปกครอง ประชาชนพากันหลบหนีไปอยู่ตามป่า
และหัวเมืองห่างไกล อย่างไรก็ตาม
การเสียกรุงครั้งที่ 2 นี้ยังมีหัวเมืองอีกหลายแห่ง
ที่รอดพ้นจากการทำลายของพม่า จึงได้มีผู้นำคนไทยตั้งตัวเป็นเจ้าชุมนุมขึ้น เพื่อรวบรวมกำลังเข้ากอบกู้อิสรภาพต่อไป
ชุมนุมคนไทยทั้ง 5 ชุมนุม ได้แก่
1.ชุมนุมเจ้าพิมาย
2.ชุมนุมเจ้าพระฝาง
3.ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก
4.ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช
5.ชุมนุมเจ้าตาก หรือพระยาตาก (สิน) ซึ่งสามารถกอบกู้เอกราชกลับคืนมาได้ ภายในปีเดียวกันนั้นโดยใช้เวลาเพียง 7 เดือน
พระราชประวัติพระเจ้าตากสินมหาราช
และการกอบกู้อิสรภาพ พระเจ้าตากสินมหาราช มีพระนามเดิมว่า สิน
มีชาติกำเนิดเป็นสามัญชน บิดาชื่อขุนพิพัฒน์ (ไหฮอง-เชื้อชาติจีน)
มารดาชื่อนางนกเอี้ยง ได้รับการศึกษาอบ รมจนได้้รับราชการเป็นขุนนางในตำแหน่ง
เจ้าเมืองตาก พระยาตาก มีฝีมือในการรบเข้มแข็งจึงถูกเกณฑ์มาช่วยรักษากรุงศรีอยุธยา
แต่เกิดความท้อใจจึงนำพรรคพวกประมาณ 500 คน
ตีฝ่ากองทัพพม่าออกไป พระยาตากได้รวบรวมหัวเมืองทะเลตะวันออก
แล้วตั้งที่มั่นที่เมืองจันทบุรี เพราะเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลา อาหาร
เมื่อต่อเรือและรวบรวมผู้คนได้พร้อมแล้ว พระยาตากจึงได้เคลื่อนทัพเรือ
มุ่งเข้าตีกองทัพพม่า ที่ค่ายโพธิ์สามต้น
สุกี้พระนายกองได้ต่อสู้จนตายในที่รบ
หลังจากกอบกู้เอกราชได้แล้ว เจ้านายและข้าราชการ
ได้พร้อมใจกันอัญเชิญให้พระยาตาก ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 4 แต่ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า พระเจ้าตากสิน
หรือพระเจ้ากรุงธนบุรี
หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสามารถกู้เอกราชคืนมาจากพม่าแล้ว
สภาพบ้านเมืองของกรุงศรีอยุธยาทุดโทรมมาก ไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นเมืองหลวงอีกต่อไป
เพราะ
1. กรุงศรีอยุธยาถูกทำลายชำรุดทรุดโทรมมาก
ยากแก่การบูรณะให้ดีดังเดิมได้
2. กรุงศรีอยุธยามีบริเวณกว้างขวางมาก
เกินกว่ากำลังของพระองค์ที่มีอยู่ เพราะผู้คนอาศัยอยู่ตามเมืองน้อย
ส่วนมากหลบหนีพม่าไปอยู่ตามป่า จึงยากแก่การรักษาบ้านเมืองได้สะดวกและปลอดภัย
3. ข้าศึกโดยเฉพาะพม่ารู้ลู่ทางภูมิประเทศและจุดอ่อนของกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างดี
ทำให้ไทยเสียเปรียบในด้านการรบ
4. ที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาเป็นอันตรายทั้งทางบกและทางน้ำ
ข้าศึกสามารถโจมตีได้สะดวก
5. กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ห่างจากปากแม่น้ำมากเกินไป
ทำให้ไม่สะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ ซึ่งนับวันจะเจริญขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
จึงทรงตัดสินใจเลือกเอากรุงธนบุรีเป็นราชธานีด้วยสาเหตุสำคัญต่อไปนี้
1. กรุงธนบุรีเป็นเมืองขนาดเล็ก
เหมาะสมกับกำลังป้องกันทั้งทางบกและทางน้ำ
2. กรุงธนบุรีตั้งอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา
สะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ
3. สะดวกในการควบคุมการลำเลียงอาวุธและเสบียงต่างๆ
ไปตามหัวเมืองหรือจากหัวเมืองเข้ามาช่วย เมื่อเกิดศึกสงคราม
4. ถ้าหากข้าศึกยกกำลังมามากเกินกว่ากำลังของทางกรุงธนบุรีจะต้านทานได้ก็สามารถย้ายไปตั้งมั่นที่จันทบุรีได้
โดยอาศัยทางเรือได้อย่างปลอดภัย
5.กรุงธนบุรีมีป้อมปราการอยู่ทั้งสองฟากแม่น้ำ
ที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชหลงเหลืออยู่
สามารถใช้ในการป้องกันข้าศึกได้บ้างที่จะเข้ามารุกรานโดยยกกำลังมาทางเรือ คือ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ และป้อมวิไชเยนทร์
การรวบรวมไทยให้เป็นปึกแผ่น
และการขยายอาณาจักร พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกอบกู้เอกราช
และรวบรวมไทยให้เป็นปึกแผ่น โดยใช้เวลาเพียง 3 ปี สาเหตุที่
พระเจ้าตากสินมหาราช สามารถกอบกู้เอกราชและรวบรวมไทยให้เป็นปึกแผ่นได้ เนื่องจาก
1. พระปรีชาสามารถในการรบ
2. พระปรีชาสามารถในการผูกมัดใจคน
3. ทหารของพระองค์มีระเบียบวินัย กล้าหาญ มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
หลังจากกอบกู้เอกราช รวบรวมไทยให้เป็นปึกแผ่น
และตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว ไทยต้องทำสงครามกับพม่า เพื่อป้องกันอาณาจักรอีกถึง 9 ครั้ง โดย สามารถป้องกันบ้านเมืองไว้ได้สำเร็จ
การขยายอาณาจักร
1. การขยายอำนาจไปยังเขมร เขมรเกิดการแย่งอำนาจกัน พระเจ้ากรุงธนบุรี จึงโปรดยกทัพไปปราบปราม แต่ครั้งแรกยังไม่สำเร็จ ในปี พ.ศ. 2314 โปรดให้ยกทัพไปตีเขมรอีก
และสามารถตีเขมรได้สำเร็จ ในปี พ.ศ. 2323
ได้เกิดกบฎในเขมร
จึงโปรดให้ยกทัพไปปราบปรามอีกแต่ยังไม่ทันสำเร็จพอดีเกิดการจลาจลในกรุงธนบุรี
จึงยกทัพกลับ
2. การขยายอำนาจไปยังลาว การตีเมืองจำปาศักดิ์
การตีเมืองเวียงจันทน์
ซึ่งทำให้ได้พระพุทธรูปที่สำคัญมา 2 องค์ คือ พระแก้วมรกต และ พระบาง
อาณาเขตประเทศไทยในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน มีดังนี้
– ทิศเหนือ
ได้ดินแดนเมืองหลวงพระบาง เวียงจันทน์
– ทิศตะวันออก
ได้ดินแดนลาว และเขมรทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง จดดินแดนญวน
– ทิศใต้
ได้ดินแดนเมืองกลันตัน ตรังกานู และไทรบุรี
– ทิศตะวันตก
จดดินแดนเมืองเมาะตะมะ ทวาย และตะนาวศรี
เหตุการณ์ตอนปลายสมัยธนบุรี
ในปลายรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระราชพงศาวดารฉบับต่างๆ
บันทึกไว้ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีพระสติฟั่นเฟือนไป
เข้าพระทัยว่าทรงบรรลุโสดาบัน และจะให้พระสงฆ์กราบไหว้พระองค์ซึ่งเป็นคฤหัสถ์
ราษฏรได้รับความเดือดร้อนทั่วแผ่นดินจากข้าราชการที่ทุจริตกดขี่ข่มเหงหาประโยชน์ส่วนตัว
เป็นเหตุทำให้เกิดจลาจลขึ้นในกรุงธนบุรี
ราษฎรต่างทิ้งบ้านเรือนหนีเข้าป่าไปเป็นอันมาก
ขณะเดียวกันก็เกิดกบฏขึ้นที่กรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทราบข่าวกบฏ
จึงสั่งพระยาสรรค์ขึ้นไปสอบสวน แต่พระยาสรรค์กลับไปเข้า พวกกบฏ
ยกพวกเข้าปล้นพระราชวังที่กรุงธนบุรี ในเดือนเมษายน 2324
บังคับให้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชออกผนวขเเละคุมพระองค์ไว้ที่พระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม
และพระยาสรรค์ก็ตั้งตนเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทน
ส่วนสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
กำลังจะยกทัพไปตีเมืองเสียมราฐ เมื่อทราบข่าวเกิดจลาจลในกรุงธนบุรี
จึงรีบยกทัพกลับขณะนั้นเป็นเดือนเมษายน 2325
เมื่อมาถึงกรุงธนบุรี พระองค์ได้ซักถามเรื่องราวความยุ่งยากที่เกิดขึ้น
จึงให้ประชุมข้าราชการ ปรากฏว่าที่ประชุมลงความเห็นว่าให้สำเร็จโทษพระเจ้าตากสินมหาราช
ขณะนั้นทรงมีพระชนม์ 48 พรรษา
รวมเวลาครองราชย์ 15 ปี
ในสมัยรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์ทรงตรากตรำในการสู้รบ
เพื่อรักษาและขยายของเขตแผ่นดินโดยมิได้ว่างเว้น จนสามารถขยายเป็นอาณาจักรใหญ่ในแหลมทองนี้ได้
พระองค์ทรงเป็นนักรบ มิได้ทรงมีโอกาสแม้แต่จะเสวยสุขสงบในบั้นปลายพระชนม์ชีพ
เพราะได้เกิดกบฏพระยาสรรค์ขึ้นก่อน บ้านเมืองวุ่นวาย
จนเป็นเหตุให้ทรงถูกสำเร็จโทษดังที่กรมหลวงนรินทรเทวีบันทึกไว้ในจดหมายเหตุความทรงจำของท่านว่า “เมื่อต้นแผ่นดินเย็นด้วยพระบารมี
ชุ่มพื้นชื่นผลจนมีแท่น ปลายแผ่นดินแสนร้อย รุมสุมรากโคนโค่นล้มถมแผ่นดิน
ด้วยสิ้นพระบารมีแต่เพียงนั้น”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น