กว่าไทยจะเป็นไทยได้นั้นเราต้องผ่านการสู้รบเสียสละชีวิตของผู้กล้ามากมายโดยเรื่องต่อไปที่ดาวเรืองจะนำเสนอนั้นเป็นการกอบกู้เอกราชครั้งยิ่งใหญ่ของไทยโดยพระมหาากษัตริย์ที่มีพระนามว่า
“พระนเรศวรมหาราช”
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชหรือที่ชาวบ้านทั่วไปในครั้งนั้นเรียกว่า
พระองค์ดำ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตริย์
(พระราชธิดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ)
เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 2098
ที่พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลกทรงมีพระเชษฐภคิณีคือ พระสุพรรณกัลยา
ทรงมีพระอนุชาคือ สมเด็จพระเอกาทศรถ (องค์ขาว)
และทรงเป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย
ตลอดระยะเวลาในทรงพระเยาว์ของพระนเรศวรทรงใช้ชีวิตอยู่ในพระราชวังจันทน์
เมืองพิษณุโลก จนกระทั่งเมื่อพระเจ้าบุเรงนองยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลก
สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าเมืองพิษณุโลกยอมอ่อนน้อมต่อแห่งหงสาวดี
และทำให้พิษณุโลกต้องแปรสภาพเป็นเมืองประเทศราชหงสาวดีไม่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา
พระเจ้าบุเรงนองได้ทรงขอพระนเรศวรไปเป็นองค์ประกันที่หงสาวดี ทำให้พระองค์ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนตั้งแต่มีพระชนม์มายุเพียง
9 พรรษา
พระองค์ทรงเป็นผู้ที่มีน้ำพระทัยเป็นนักรบมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์
มีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวมีน้ำพระทัยกว้างขวางสมกับที่เป็นเชื้อสายของสมเด็จ
พระศรีสุริโยทัย แม้พระนเรศวรจะถูกนำไปเป็นตัวประกันถึงหงสาวดี
แต่ตลอดระยะเวลาพระองค์มิได้ทรงหวั่นไหว
ครั้งที่อยู่ในเมืองหงสาวดีก็ได้แสดงความปรีชาสามารถให้ปรากฏหลายต่อหลาย ครั้ง
ทำให้พระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์ของหงสาวดีรู้สึกหวาดหวั่น
เกรงว่าต่อไปภายหน้าอาจรวบรวมแผ่นดินอยุธยาได้
ปกครองเมืองพิษณุโลก
หลังจากที่พระเจ้าบุเรงนองตีกรุงศรีอยุธยาแตก
เมื่อ พ.ศ. 2112 มะเส็งศก
วันอาทิตย์ เดือน ๙ แรม ๑๑ ค่ำ
และได้สถาปนาสมเด็จพระมหาธรรมราชาครองกรุงศรีอยุธยาในฐานะประเทศราชของหง
สาวดีต่อไป หลังจากนั้น
พระนเรศวรได้หนีกลับมาไทยโดยที่บุเรงนองยินยอมด้วยอันเนื่องมาจากพระสุพรรณ
กัลยาได้ขอไว้ หลังจากที่พระองค์ดำกลับมากรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระมหาธรรมราชาได้ทรงพระราชทานนามให้ว่า “พระนเรศวร” และโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระมหาอุปราชไปปกครองเมืองพิษณุโลก
ทรงปกครองเมืองอย่างดีและทรงเริ่มเตรียมการที่จะกอบกู้เอกราชของกรุงศรีอยุธยา
การที่ได้เสด็จไปประทับอยู่หงสาวดี 8 ปีนั้น ก็เป็นประโยชน์ยิ่งเพราะทรงทราบทั้งภาษาและนิสัยใจคอ
ตลอดจนล่วงรู้ความสามารถของพม่า เป็นทุนสำหรับคิดอ่านต่อสู้
เมื่อพระเจ้าหงสาวดีตีกรุงศรีอยุธยาได้นั้น
อ้างว่าข้าราชการในกรุงเกลียดชังสมเด็จพระมหาธรรมราชา
จึงต้องถอนข้าราชการเมืองเหนือที่เคยใช้สอยลงมารับราชการในกรุงมากด้วยกัน
จำนวนข้าราชการทางเมืองเหนือจึงบกพร่อง
ต้องหาตัวตั้งขึ้นใหม่พระนเรศวรทรงทรงขวนขวายหาคนสำหรับทรงใช้สอยโดยฝึกทหารที่อยู่ในรุ่นราวคราว
เดียวกันตามวิธียุทธ์ของพระองค์ทั้งสิ้น จึงเป็นกำลังของพระนเรศวรในเวลาต่อมา
และความคาดคิดของพระเจ้าบุเรงนองแห่งหงสาวดีก็กำลังจะกลายเป็นความจริงเมื่อ
พระนเรศวรทรงคิดที่จะกอบกู้อิสรภาพขึ้นในแผ่นดินอันเป็นเมืองที่พระองค์ทรง
พระราชสมภพ
ประกาศอิสรภาพ
เมื่อปี พ.ศ. 2126 พระเจ้าอังวะเป็นกบฎ เนื่องจากไม่พอใจทางกรุงหงสาวดีอยู่หลายประการ
จึงแข็งเมืองพร้อมกับเกลี้ยกล่อมเจ้าไทยใหญ่อีกหลายเมืองให้แข็งเมืองด้วย
พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงจึงยกทัพหลวงไปปราบ
ในการณ์นี้ได้สั่งให้เจ้าเมืองแปรเจ้าเมืองตองอูและเจ้าเมืองเชียงใหม่
รวมทั้งทางกรุงศรีอยุธยาด้วย ให้ยกทัพไปช่วยทางไทย
สมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดให้สมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปแทน
สมเด็จพระนเรศวรยกทัพออกจากเมืองพิษณุโลก
เมื่อวันแรม 6 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม พ.ศ. 2126
พระองค์ยกทัพไทยไปช้า ๆ เพื่อให้การปราบปรามเจ้าอังวะเสร็จสิ้นไปก่อน
ทำให้พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงแคลงใจว่า
ทางไทยคงจะถูกพระเจ้าอังวะชักชวนให้เข้าด้วย จึงสั่งให้พระมหาอุปราชาคุมทัพรักษากรุงหงสาวดีไว้ถ้าทัพไทยยกมาถึงก็ให้
ต้อนรับและหาทางกำจัดเสีย และพระองค์ได้สั่งให้พระยามอญสองคน คือ
พระยาเกียรติและพระยาราม ซึ่งมีสมัครพรรคพวกอยู่ที่เมืองแครงมาก
และทำนองจะเป็นผู้คุ้นเคยกับสมเด็จพระนเรศวรมาแต่ก่อน ลงมาคอยต้อนรับทัพไทยที่เมืองแครง
อันเป็นชายแดนติดต่อกับไทย พระมหาอุปราชาได้ตรัสสั่งเป็นความลับว่า
เมื่อสมเด็จพระนเรศวรยกกองทัพขึ้นไป ถ้าพระมหาอุปราชายกเข้าตีด้านหน้าเมื่อใด
ให้พระยาเกียรติและพระยารามคุมกำลังเข้าตีกระหนาบทางด้านหลัง
ช่วยกันกำจัดสมเด็จพระนเรศวรเสียให้จงได้ พระยาเกียรติกับพระยารามเมื่อไปถึงเมืองแครงแล้วได้ขยายความลับนี้แก่พระมหา
เถรคันฉ่องผู้เป็นอาจารย์ของตน
ทุกคนไม่มีใครเห็นดีด้วยกับแผนการของพระเจ้ากรุงหงสาวดี
เพราะมหาเถรคันฉ่องกับสมเด็จพระนเรศวรเคยรู้จักชอบพอกันมาก่อน
กองทัพไทยยกมาถึงเมืองแครง
เมื่อวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก พ.ศ. 2127
โดยใช้เวลาเดินทัพเกือบสองเดือน กองทัพไทยตั้งทัพอยู่นอกเมือง
เจ้าเมืองแครงพร้อมทั้งพระยาเกียรติกับพระยารามได้มาเฝ้าฯ สมเด็จพระนเรศวร
จากนั้นสมเด็จพระนเรศวรได้เสด็จไปเยี่ยมพระมหาเถรคันฉ่องซึ่งคุ้นเคยกันดีมา ก่อน
พระมหาเถรคันฉ่องมีใจสงสารจึงกราบทูลถึงเรื่องการคิดร้ายของทางกรุงหงสาวดี
แล้วให้พระยาเกียรติกับพระยารามกราบทูลให้ทราบตามความเป็นจริง
เมื่อพระองค์ได้ทราบความโดยตลอดแล้ว
ก็ทรงมีพระราชดำริเห็นว่าการเป็นอริราชศัตรูกับกรุงหงสาวดีนั้น
ถึงกาลเวลาที่จะต้องเปิดเผยต่อไปแล้ว จึงได้มีรับสั่งให้เรียกประชุมแม่ทัพนายกอง
กรมการเมือง เจ้าเมืองแครงรวมทั้งพระยาเกียรติพระยารามและทหารมอญมาประชุมพร้อมกัน
แล้วนิมนต์พระมหาเถรคันฉ่องและพระสงฆ์มาเป็นสักขีพยาน
ทรงแจ้งเรื่องให้คนทั้งปวงที่มาชุมนุม ณ ที่นั้นทราบว่า
พระเจ้าหงสาวดีคิดประทุษร้ายต่อพระองค์ จากนั้นพระองค์ได้ทรงหลั่งน้ำลงสู่แผ่นดินด้วยสุวรรณภิงคาร
(พระน้ำเต้าทองคำ) ประกาศแก่เทพยดาฟ้าดินว่า “ด้วยพระเจ้าหงสาวดี
มิได้อยู่ในครองสุจริตมิตรภาพขัตติยราชประเพณี เสียสามัคคีรสธรรม ประพฤติพาลทุจริต
คิดจะทำอันตรายแก่เรา ตั้งแต่นี้ไป กรุงศรีอยุธยาขาดไมตรีกับกรุงหงสาวดีมิได้เป็นมิตรร่วมสุวรรณปฐพีเดียวกัน
ดุจดังแต่ก่อนสืบไป”
จากนั้นพระองค์ได้ตรัสถามชาวเมืองแครงว่าจะเข้าข้างฝ่ายใด
พวกมอญทั้งปวงต่างเข้ากับฝ่ายไทย
สมเด็จพระนเรศวรจึงให้จับเจ้าเมืองกรมการพม่าแล้วเอาเมืองแครงเป็นที่ตั้ง
ประชุมทัพ เมื่อจัดกองทัพเสร็จก็ทรงยกทัพจากเมืองแครงไปยังเมืองหงสาวดีเมื่อวันแรม
3 ค่ำ เดือน 6
ฝ่ายพระมหาอุปราชาที่อยู่รักษาเมืองหงสาวดี
เมื่อทราบว่าพระยาเกียรติพระยารามกลับไปเข้ากับสมเด็จพระนเรศวร
จึงได้แต่รักษาพระนครมั่นอยู่
สมเด็จพระนเรศวรเสด็จยกทัพข้ามแม่น้ำสะโตงไปใกล้ถึงเมืองหงสาวดี ได้ทราบความว่า
พระเจ้ากรุงหงสาวดีมีชัยชนะได้เมืองอังวะแล้ว กำลังจะยกทัพกลับคืนพระนคร
พระองค์เห็นว่าสถานการณ์ครั้งนี้ไม่สมคะเน
เห็นว่าจะตีเอาเมืองหงสาวดีในครั้งนี้ยังไม่ได้
จึงให้กองทัพแยกย้ายกันเที่ยวบอกพวกครัวไทยที่พม่ากวาดต้อนไปแต่ก่อนให้อพยพ
กลับบ้านเมือง ได้ผู้คนมาประมาณหมื่นเศษให้ยกล่วงหน้าไปก่อน
พระองค์ทรงคุมกองทัพยกตามมาข้างหลัง
ศึกยุทธหัตถี
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ยุทธหัตถี
นับตั้งแต่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพเป็นต้นมา
หงสาวดีได้เพียรส่งกองทัพเข้ามาหลายครั้ง
แต่ก็ถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยาตีแตกพ่ายไปทุกครั้ง เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชา เสด็จสวรรคต
เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๓๓ พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๙ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๑๓๓ เมื่อพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนเรศวร
หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๒ และโปรดเกล้า ฯ ให้พระเอกาทศรถ พระอนุชา
ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช แต่มีศักดิ์เสมอพระมหากษัตริย์อีกพระองค์หนึ่ง
ตลอดรัชสมัยของ
พระองค์ทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากหงสาวดี
และได้ทำสงครามกับอริราชศัตรูทั้งพม่าและเขมร จนราชอาณาจักรไทยเป็นปึกแผ่นมั่นคง
ขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาลกว่าครั้งใดในอดีตที่ผ่านมา
งานสงครามในรัชสมัยของพระองค์ ทั้งในดินแดนไทยและดินแดนข้าศึก ได้ชัยชนะทุกครั้ง
ทรงมีพระปรีชาสามารถในการนำทัพ ทรงริเริ่มนำยุทธวิธีแบบใหม่มาใช้ในการทำสงคราม
และเปลี่ยนแนวความคิดจากการตั้งรับมาเป็นการรุก
และริเริ่มการใช้วิธีรบนอกแบบารสงครามกับพม่าครั้งสำคัญที่ทำให้พม่าไม่กล้า
ยกทัพมารุกรานไทยอีกเลย เป็นเวลาเกือบสองร้อยปีคือ สงครามยุทธหัตถี เมื่อปี พ.ศ.
๒๑๓๕ นั่นคือเมื่อหงสาวดีนำโดยพระมหาอุปราชามังสามเกียดยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา
อีกครั้ง สมเด็จพระนเรศวรก็นำทัพออกไปจนปะทะกันที่หนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี
บ้างก็ว่าจังหวัดกาญจนบุรี สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาจนกระทั่งสามารถเอาพระ
แสงง้าวฟันพระมหาอุปราชาขาดสะพายแล่ง สิ้นพระชนม์อยู่กับคอช้างนั่นเอง
"กว่าจะเป็นเอกราชได้นั้นประเทศไทยเราฝ่าฟันและสุญเสียกันมามากดังนั้นเราในฐานะคนไทยก็ต้องตระหนักรักและห่วงแหนประเทศเราให้มากและควรทำความดีตอบแทนบุญคุณแผ่นดินโดยการเป็นคนดีและไม่สร้างความเดือดร้อนให้บ้านเมือง"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น