.ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของดาวเรืองนะคะ

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ



เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535
ลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ถึง พ.ศ. 2535
พ.ศ. 2534
23 กุมภาพันธ์ - คณะ รสช.ยึดอำนาจจากรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
พ.ศ. 2535
22 มีนาคม - มีการเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศ พรรคสามัคคีธรรม ของนายณรงค์ วงศ์วรรณ ได้รับเลือกตั้งมาเป็นลำดับหนึ่ง แต่ถูกขึ้นบัญชีดำผู้ค้ายาเสพย์ติดจากสหรัฐอเมริกา
7 เมษายน - พล.อ.สุจินดา คราประยูร ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
8 เมษายน - ร.ต.ฉลาด วรฉัตร เริ่มอดอาหารประท้วงวันแรก
17 เมษายน - มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
20 เมษายน - พรรคฝ่ายค้านเริ่มการปราศรัยที่ลานพระบรมรูปทรงม้ามีผู้ร่วมชุมนุมเกือบ100,000คน
4 พฤษภาคม - พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เริ่มอดอาหารและน้ำประท้วงวันแรก
7 พฤษภาคม - พล.อ.สุจินดา แถลงนโยบายต่อรัฐสภา แต่พรรคฝ่ายค้านไม่เข้าร่วม ขณะเดียวกันบริเวณหน้ารัฐสภามีผู้ชุมนุมร่วมประท้วง จนต้องมีการปิดประชุมโดยกระทันหัน
8 พฤษภาคม - พล.อ.สุจินดา แถลงถึงเหตุผลที่ต้องมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
9 พฤษภาคม - นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานรัฐสภาประสานให้พรรคร่วมรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านร่วมกันตกลงว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญบางประการ และ พล.ต.จำลอง ประกาศเลิกอดอาหาร
11 พฤษภาคม - พล.ต.จำลอง ประกาศสลายการชุมนุมและประกาศชุมนุมใหม่อีกครั้งในวันที่ 17 พฤษภาคม หากในวันที่ 15 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันที่พรรคร่วมรัฐบาลให้สัญญาว่าจะแถลงถึงเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่มีความคืบหน้า
15 พฤษภาคม - พรรคร่วมรัฐบาลเปลี่ยนท่าทีเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยอ้างว่าเป็นการให้สัมภาษณ์โดยพลการของ นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยอ้างว่าจะแก้ให้มีบทเฉพาะกาล ว่า นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง ซึ่ง พล.อ.สุจินดา ต้องดำรงตำแหน่งจนครบวาระ 4 ปี เสียก่อน
17 พฤษภาคม - รัฐบาลจัดคอนเสิร์ตต้านภัยแล้งสกัดม็อบที่สนามกีฬากองทัพบกและวงเวียนใหญ่ โดยขนรถสุขาของกรุงเทพ ฯ มาไว้ที่นี่หมด ช่วงเที่ยงคืนเริ่มเกิดการตำรวจปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับตำต่อเนื่องถึงเช้าวันที่ 18 พฤษภาคม
18 พฤษภาคม - ก่อนรุ่งสาง รัฐบาลเริ่มนำทหารจัดการกับผู้ชุมนุมอย่างรุนแรงและประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เวลาบ่าย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และผู้ชุมนุมบางส่วนถูกจับกุม
19 พฤษภาคม - กลุ่มผู้ชุมนุมที่ไม่ได้ถูกจับกุมย้ายสถานที่ชุมนุมไปที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง
20 พฤษภาคม - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให้ผู้นำทั้งสองฝ่าย คือ พล.อ.สุจินดา และ พล.ต.จำลอง เข้าเฝ้า โดยผู้ที่นำเข้าเฝ้าคือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
24 พฤษภาคม - พล.อ.สุจินดา และ พล.ต.จำลอง แถลงการณ์ร่วมกันผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยและ พล.อ.สุจินดา ลาออกจากตำแหน่ง
10 มิถุนายน - แกนนำจัดตั้งรัฐบาลเสนอชื่อ พลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ หัวหน้าพรรคชาติไทย เป็นนายกรัฐมนตรี แต่นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ รองหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม ในฐานะประธานสภาผู้แทนราษฎร และรักษาการประธานรัฐสภา ตัดสินใจนำชื่อนายอานันท์ ปันยารชุน ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อโปรดเกล้าฯ ให้ กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง

13 กันยายน - มีการเลือกตั้งใหญ่ทั่วทั้งประเทศ พรรคประชาธิปัตย์ได้รับคะแนนเสียงมาเป็นลำดับหนึ่ง นายชวน หลีกภัย ได้เป็นนายกรัฐมนตรี




1 ความคิดเห็น:

  1. pg slot รับฟรีเครดิต ผู้ให้บริการเกมสล็อตออนไลน์ ที่มาแรงที่สุด pg slot รับรองความคุ้มราคาจากถ้าเกิดคูณเริ่มจะมีความรู้สึกว่าของฟรีไม่มีในโลก บอกเลยว่าคุณคิดผิดแล้ว ด้วยเหตุว่าเว็บไซต์ของเราแจกจริงไม่ต้องแชร์

    ตอบลบ