.ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของดาวเรืองนะคะ

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

สมัยรัตนโกสินทร์

ไปเที่ยวอดีตมาสนุกกันไหมค่ะทุกคน ตอนนี้ถึงยุคสมัยปัจจุบันของเราแล้วนะคะสมัยรัตนโกสินทร์ ดาวเรืองของพี่ไกรอาจอยู่กรุงศรี แต่ดาวเรืองคนนี้เกิดในรัชกาลที่9นะคะ มาค่ะเราเรียนรู้เรื่องราวรัตนโกสินทร์กันดีกว่าค่ะ

ประวัติศาสตร์ของไทยสมัยรัตนโกสินทร์
การสถาปนาพระราชวงศ์จักรี
-สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก แม่ทัพใหญ่ของกรุงธนบุรีเป็นผู้แก้ไขสถานการณ์ความไม่สงบจากกรณีกบฏพระยาสรรค์ตอนสมัยปลายรัชกาลของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
-เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เหล่าขุนนางข้าราชการได้อัญเชิญสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก ขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่1) โปรดให้ย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีไปยังที่แห่งใหม่ซึ่งอยู่คนละฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อพ.ศ.2325 ต่อมาได้พระราชทานนามว่า กรุงรัตนโกสินทร์ หรือ กรุงเทพฯ ในปัจจุบัน
ความไม่เหมาะสมเป็นราชธานีของกรุงธนบุรี(ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา)
–    ความคับแคบของเขตพระราชวัง เนื่องด้วยถูกขนาบด้วยสัดทั้งสองด้าน(วัดอรุณราชวรารามและวัดโมฬีโลกธาราม)
–  ความไม่เหมาะสมในเรื่องสภาพภูมิประเทศ อยู่ในบริเวณท้องคุ้งน้ำอาจถูกน้ำและคลื่นกัดเซาะตลิ่งพังได้ง่าย
ความไม่เหมาะสมในทำเลที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ กรุงธนบุรีมีป้อมปราการไว้ป้องกันข้าศึกทั้งสองฝั่งแม่น้ำ โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านเปรียบเสมือนเป็นเมืองอกแตก
ความเหมาะสมเป็นราชธานีของกรุงรัตนโกสินทร์
–    ขยายเมืองในอนาคต ทางฝั่งตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มและมีพื้นที่กว้าง
–     การป้องกันการรุกรานของข้าศึก
ปัจจัยที่เป็นผลดีต่อพัฒนาการด้านต่างๆ
–     อยู่ใกล้ทะเลหรือปากอ่าวไทย
–    ตั้งอยู่ในเขตอากาศร้อนชื้น
–     เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มีดินดีน้ำดี
–     เป็นศูนย์รวมของการเผยแพร่ทางวัฒนธรรม
ลักษณะการเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
การปกครองภายในราชธานี
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ร.1-ร.3 มีการจัดระเบียบการปกครองในราชธานี โดยมีอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่งและเสนาบดีจตุสดมภ์อีก 4 ตำแหน่ง เป็นผู้รับผิดชอบ
1.กรมมหาดไทย เรียกว่า สมุหนายก ดูแลรับผิดชอบราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน
ในหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมด
2.กรมกลาโหม เรียกว่า สมุหพระกลาโหม ดูแลรับผิดชอบราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน
ในหัวเมืองฝ่ายใต้
3.กรมเมือง(นครบาล) เจ้าพระยายมราช ดูแลรักษาความสงบและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ในราชธานีการปกครองภายในราชธานี
4.กรมวัง(ธรรมาธิกรณ์) มีเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ ดูแลกิจการภายในพระราชวังและพระราชพิธีต่างๆ พิจารณาพิพากษาคดีความของราษฎร
5.กรมคลัง(โกษาธิบดี) มีเจ้าพระยาพระคลัง ดูแลเกียวกับเงินรายได้และรายจ่ายของแผ่นดิน ติดต่อค้าขาย ดูแลหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก(กรมท่า)
6.กรมนา(เกษตรธิการ) มีพระยาพลเทพ ดูแลเสบียงอาหารขอแผ่นดิน เก็บภาษีค่านาจากราษฎร
(ภาษีหางข้าว)
การปกครองหัวเมือง
หัวเมืองชั้นใน เป็นเมืองที่อยู่ใกล้ราชธานีและมีฐานะเป็นชั้นเมืองจัตวา
–   เมืองพระประแดง นครเขื่อนขัณฑ์
–    ผู้ปกครองเรียกว่า ผู้รั้ง
หัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลจากราชธานี มีฐานะเป็นเมืองชั้นเอก ชั้นโท และชั้นตรี
–    เมืองพิษณุโลก นครสวรรค์ นนทบุรี สาครบุรี จันทบุรี เพชรบุรี สงขลา
หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองของชนชาติต่างภาษา
–    จำปาศักดิ์ ทะวาย มะริด หลวงพระบาง ไทรบุรี กลันตัน
–   จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมายังราชธานีทุกๆ 3 ปีต่อครั้ง
การปกครองส่วนท้องที่
หมู่บ้าน ผู้ปกครองดูแล คือ ผู้ใหญ่บ้าน
ตำบล หมูบ้านหลายๆหมู่บ้านรวมเป็นตำบล ผู้ปกครองดูแลคือ กำนัน
แขวง ตำบลหลายๆตำบลรวมเป็นแขวง ผู้ปกครองดูแลแขวงคือหมื่นแขวง
เศรษฐกิจในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ประเทศในเอเชียที่ไทยติดต่อค้าขาย ได้แก่ จีน ชวา สิงคโปร์ และอินเดีย
สินค้าออกได้แก่ ดีบุก งาช้าง ไม้ น้ำตาล พริกไทย และของป่า
สินค้าเข้าได้แก่ เครื่องถ้วยชามสังคโลก ชา ไหม เงิน ปืน ดินปืน
รายได้จากการเก็บภาษี
–    จังกอบ เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากการชักส่วนสินค้า ด่านขนอน
–  อากรส่วนที่เก็บจากผลประโยชน์ที่ราษฎรทำมาหาได้ในการประกอบการต่างๆเช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวน
–     ส่วย  สิ่งของที่รัฐบาลเรียกร้องเอาจากเมืองที่อยู่ภายใต้ปกครอง
–     ฤชา ค่าธรรมเนียมที่ทางราชการเรียกเก็บจากราษฎรซึ่งได้รับประโยชน์จากรัฐเป็นการเฉพาะตัว
สภาพสังคมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
มีการสนับสนุนเป็นไพร่ส่วยมากขึ้น
ชาวจีนได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยมากขึ้น
การศึกษาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ศูนย์กลางอยู่ที่วัด
การศึกษาเล่าเรียนจำกัดอยู่เฉพาะเด็กชาย
ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน
การทำสงคราม
การทำสงครามปกกันประเทศ
การทำสงครามขยายอาณาจักร
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีวีรสตรี 3 ท่าน คือ
ในสงครามเก้าทัพ ได้แก่ ท้าวเทพสตรี ท้าวศรีสุนทร(คุณหญิงจัน คุณหญิงมุก จังหวัดภูเก็ต)
ในการทำศึกเวียงจันทร์ ได้แก่ ท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม จังหวัดนครราชสีมา)
ความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก
โปรตุเกส
–    เป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาติดต่อ
–    สมัย ร.2 ไทยได้ส่งเรือไปค้าขายกับโปรตุเกสที่มาเก๊า
–     โปรตุเกสสร้างสถานกงสุลในประเทศไทยเป็นประเทศแรก
อังกฤษ
–    ทำสัมพันธไมตรีกับไทยเพื่อหวังประโยชน์ในดินแดนมลายู
–    ในสมัย ร.3 อังกฤษได้มาขอความช่วยเหลือให้ไทยช่วยรบกับพม่า
–   ไทยกับอังกฤษได้ทำสนธิสัญญาเบอร์นี

สมัยรัตนโกสินทร์สมัย ร.4-ร.7
ลักษณะการเมืองการปกครองของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคใหม่
การเมืองการปกครองสมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่รัชการที่4
เป็นยุคที่ไทยเริ่มรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมตะวันตก
การทำสนธิสัญญาเบาริง(พ.ศ.2398)
อังกฤษของตั้งสถานกงสุลในไทย
คนอังกฤษมีสิทธิเช่าที่ดินในประเทศไทยได้
คนอังกฤษสามารถสร้างวัดและเผยแพร่คริสต์ศาสนาได้
เก็บภาษีขาเข้าได้ไม่เกินร้อยละ 3
พ่อค้าอังกฤษและพ่อค้าไทยมีสิทธิค้าขายกันโดยเสรี
ถ้าไทยทำสนธิสัญญากับประเทศอื่นๆ ที่มีผลประโยชน์เหนือ ประเทศอังกฤษจะต้องทำให้อังกฤษด้วย
ผลของสนธิสัญญาเบาริง
ผลดี
–     ไทยรอดพ้นจาการเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ
–      การค้าขายขยายตัวมากขึ้น
–      อารยธรรมตะวันตกเข้ามาแพร่หลาย
ผลเสีย
–    ไทยเสียสิทธิทางการศาลให้อังกฤษ
–      อังกฤษเป็นชาติที่ได้รับสิทธิพิเศษหลายอย่าง
–    อังกฤษเป็นฝ่ายได้เปรียบ จึงไม่ยอมทำการแก้ไข
การปฏิรูปการเมืองการปกครองสมัยรัชการที่5
ในสมัย ร.5 (พ.ศ.2411-2453) เป็นช่วงที่บ้านเมืองมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เพื่อให้ทันสมัยเท่ากับอารยประเทศ
1.การจัดตั้งสภาที่ปรึกษา พ.ศ.2471
2.การปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2435
3.การจัดตั้งรัฐมนตรีสภา พ.ศ.2437
การจัดตั้งสภาที่ปรึกษา
ประกอบด้วย 2 สภา
1.สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน(Council of State) ประกอบด้วยขุนนาง 12 คนทำหน้าที่เกี่ยวกับถวายความเห็น เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน
2.สภาที่ปรึกษาในพระองค์(Privy Council) ประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางรวม 49 คน ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์ในเรื่องเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน (คล้ายกับองคมนตรีในปัจจุบัน)
การปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน
การบริหาราชการส่วนกลาง ให้ยกเลิกตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีและเสนาบดีจตุสดมภ์ที่ใช้กันมาตั้งอยุธยา ตั้งกระทรวงขึ้นมาแทน 12 กระทรวง โดยมีเสนาบดีเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ
การบริหารราชการส่วนภูมิภาค
–   ยกเลิกการแบ่งหัวเมืองส่วนภูมิภาคที่เป็นเมืองชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี และชั้นจัตวาและยกเลิกฐานะเมืองประเทศราช
–   จัดการปกครองแบบ มณฑลเทศาภิบาล ขึ้นแทน โดยรวมหัวเมืองต่างๆตั้งแต่3เมืองขึ้นไปเป็นมณฑล ขึ้นต่อกระทรวงมหาดไทย ผู้ปกครองมณฑลเรียกว่า ข้าหลวงเทศาภิบาล หรือ สมุหเทศาภิบาล
–     มณฑลเทศาภิบาล เมือง อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน
–     การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
–                 จัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพ พ.ศ.2442
–                 จัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอม ตำบลท่าฉลอม เมืองสมุทรสาคร พ.ศ.2448
การจัดตั้งรัฐมนตรี
ร.5โปรดตรากฎหมายจัดตั้ง รัฐมนตรีสภา ขึ้นเมื่อ พ.ศ.2437 เพื่อให้เป็นสภาสำหรับประชุมปรึกษาเกี่ยวกับการตรากฎหมายข้อบังคับต่างๆ
การปรับปรุงการเมือง การปกครองสมัยรัชกาลที่6
กบฏ ร.ศ.130
–    เป็นการเคลื่อนไหวของทหารกลุ่มหนึ่ง เรียกว่าคณะพรรค ร.ศ.130 นำโดยร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์
–      เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ เกิดในปี2454
–    แผนการเกิดรั่วไหลก่อน ถูกจับทั้งหมด
การจัดตั้งดุสิตธานี
–     เป็นเมืองจำลองการปกครองระบอบประชาธิปไตย
–     ตั้งขึ้นในเขตพระราชวังดุสิต เมื่อ พ.ศ.2461
การปรับปรุงการเมือง การปกครองสมัยรัชการที่7
จัดตั้งสภาต่างๆ เพื่อช่วยบริหารราชการแผ่นดิน
อภิรัฐมนตรีสภา เป็นสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน
เสนาบดีสภา เป็นที่ประชุมของเสนาบดีประจำกระทรวง
องคมนตรีสภา เป็นสภาที่ปรึกษาในข้อราชการที่ทรงขอความเห็น
เตรียมจัดการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาล
เพื่อให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการปกครอง
มีการร่างกฎหมายและให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล
จัดทำร่างรัฐธรรมนูญ
ด้านการศึกษา
รัชกาลที่4
–    ตั้งโรงเรียนชายขึ้นที่ตำบลสำเหร่
–    ปัจจุบันคือ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตรียนวิทยาลัย
–    โรงเรียนสตรีแห่งแรกในประเทศไทย คือ โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง
–      ปัจจุบันคือโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย
รัชกาลที่5
–    โรงเรียนทหารมหาดเล็ก
–     โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
–      โรงเรียนวัดมหรรณพาราม(โรงเรียนสำหรับราษฎรแห่งแรก)
รัชกาลที่6
–       จัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งแรก คือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เกิดขึ้นรัชสมัยของกรุงรัตนโกสินทร์
รัชกาลที่1 พระบาทสมเด็จเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
–      พ.ศ.2325-2352 รวม 27 ปี
–      สถาปนากรุงเทพฯเป็นเมืองหลวง
–     การชำระกฎใหม่เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง
–      สังคายนาพระไตรปิฎกและบูรณวัดวาอาราม
–       วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
–       วัดสุทัศน์เทพวราราม
–    วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
–      เกิดสงคราม 9 ทัพ
รัชกาลที่2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
–       พ.ศ.2325-2367 รวม 15 ปี
–        ผลงานด้านวรรณกรรม เช่น อิเหนา สังข์ทอง ไกรทอง ขุนช้างขุนแผน
–       พระสงฆ์ไทยเดินทางไปลังกาเพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางพุทธศาสนา
–      จัดงานพระราชกุศลอย่างใหญ่โตในวันวิสาขบูชา
รัชกาลที่3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
–      พ.ศ.2367-2394 รวม 27 ปี
–     การตั้งระบบภาษีนายอากร
–     การทำสนธิสัญญากับอังกฤษคือ สนธิสัญญาเบอร์นีย์
–     ติดต่อค้าขายกับจีน
รัชกาลที่4 พระบาทสมเด็จพระจอมเหล้าเจ้าอยู่หัว
–         พ.ศ.2394-2411 รวม 17 ปี
–        มีการปรับปรุงประเทศเข้าสูความทันสมัย
–       เปลี่ยนการใช้เงินพดด้วงมาเป็นเงินเหรียญ
–        การให้ขุนนางสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า ให้ราษฎรมาเฝ้าเสด็จอย่างใกล้ชิด
–       มีการนำวิทยาการของตะวันตกมาใช้ เช่นการแพทย์
–       การส่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ
–     การทำสนธิสัญญาเบาว์ริง
รัชกาลที่5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
–       พ.ศ.2411-2453 รวม 42 ปี
–        มีการยกเลิกทาส
–      ถูกชาติมหาอำนาจได้แก่ อังกฤษ  ฝรั่งเศสคุกคาม
–       มีการสร้างทางรถไฟ การไปรษณีย์ โทรเลข
–       มีการปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยแบบตะวันตก
รัชกาลที่6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
–     พ.ศ.2453-2468 รวม 15 ปี
–       เกิดกบฏ รศ.130
–      ประเทศไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1
–     การตั้งมหาวิทยาลัยแห่งแรกคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
–    ประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ.2464
–       มีการใช้พุทธศักราชแทนรัตนโกสินทร์ศก
–    ก่อตั้งกองลูกเสือไทย
–      ให้มีการใช้นามสกุล
–      เปลี่ยนแปลงธงชาติจากรูปช้างเผือกเป็นธงไตรรงค์
รัชกาลที่7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
–    พ.ศ.2468-2477 รวม 9 ปี
–    เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
เกิดกบฏบวรเดช
–    เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ
รัชกาลที่8 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
–   พ.ศ.2477-2489 รวม 12 ปี
–    เกิดสงครามอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส
–     เริ่มใช้วันขึ้นปีใหม่แบบสากล
–      ยกเลิกบรรดาศักดิ์และข้าราชการพลเรือน
–    ญี่ปุ่นบุกไทย และขอเดินทัพผ่านประเทศไทย
–      ไทยร่วมมือกับญี่ปุ่นประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้ง2
รัชกาลที่9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
–       พ.ศ.2489-ปัจจุบัน
–     ประเทศไทยมีการพัฒนาการด้านต่างๆ
–   เกิดเหตุการณ์ทางการเมืองเช่น 14 ตุลาคม 2516 พฤษภาคม 2535
–   จัดพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 220 ปี

–     ทรงเป็นกษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดของโลก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น