.ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของดาวเรืองนะคะ

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ของไทย



สวัสดีค่ะทุกคนดาวเรืองคนเดิมเพิ่มเติมมีเรื่องมานำเสนอค่ะ วันนี้ดาวเรืองจะนำความรู้เรื่องการแบ่งยุคประวัติศาสตร์กันค่ะ ก่อนที่เราจะไปรับรู้เรื่องอื่นของประวัติศาสตร์แต่ละยุคแต่ละสมัยเราก็ต้องมาดูสิว่าประวัติศาสตร์เราเขาแบ่งเป็นยุคเป็นสมัยยังไงดังนั้นเรามาเริ่มกันเลยดีกว่าค่ะ

สมัยประวัติศาสตร์
  การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ของไทย คือ การกำหนดช่วงเวลาเพื่อให้เข้าใจเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในดินแดนไทย  โดยทั่วไปการกำหนดช่วงเวลาที่เริ่มต้นและสิ้นสุดของช่วงสมัยใดสมัยหนึ่ง มักจะอ้างอิงเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงหรือเป็นจุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์  เช่น  การขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่งจนถึงปีที่พระองค์สวรรคตหรือสิ้นอำนาจหรือแบ่งตามศูนย์กลางอำนาจการปกครอง  เป็นต้นสมัยประวัติศาสตร์ไทยแบ่งเป็นสมัยย่อยๆได้หลายแบบ เช่น

แบ่งตามราชธานี
แบ่งตามราชวงศ์
แบ่งตามพระนามพระมหากษัตริย์
แบ่งตามพัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง
แบ่งตามลักษณะการปกครอง
แบ่งตามรัฐบาล
แบ่งตามแนวประวัติศาสตร์สากล
1. แบ่งตามราชธานีการแบ่งแบบนี้นำชื่อราชธานีของไทย  ได้แก่ กรุงสุโขทัย  กรุงศรีอยุธยา  กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์มาเป็นชื่อยุคสมัย  เริ่มตั้งแต่เวลาของรัฐที่มีมาก่อน  สุโขทัยให้เป็นสมัยก่อนสุโขทัยดังนี้
สมัยก่อนสุโขทัย ( ราวพุทธศตวรรษที่ 12 – พุทธศตวรรษที่ 17 )
สมัยสุโขทัย พ.ศ.1792 – พ.ศ.2006
สมัยอยุธยา พ.ศ.1893 – 2310
สมัยธนบุรี พ.ศ.2310 – 2325
สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2325 ถึงปัจจุบัน

2. การแบ่งตามราชวงศ์การแบ่งตามราชวงศ์ที่ขึ้นมามีอำนาจการปกครองในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น  สมัยอยุธยา แบ่งยุคสมัยตามราชวงศ์ได้ดังนี้
สมัยราชวงศ์อู่ทอง พ.ศ.1893-1913  และ พ.ศ.1931-1952
สมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ พ.ศ.1913-1931 และ พ.ศ.1952-2112
สมัยราชวงศ์สุโขทัย พ.ศ.2112-2172
สมัยราชวงศ์ปราสาททอง  พ.ศ.2172-2231
สมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง  พ.ศ.2231-2310

3. แบ่งตามพระนามพระมหากษัตริย์โดยใช้เกณฑ์การขึ้นครองราชย์องค์หนึ่งไปจนถึงการสิ้นพระชนม์ เช่น
-สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พ.ศ. 1822 ถึง พ.ศ.1841
-สมัยพระนารายณ์มหาราช  พ.ศ.2199 ถึง พ.ศ.2231

4.  แบ่งตามพัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองการแบ่งตามพัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง เช่น สมัยอยุธยาอาจแบ่งได้เป็น 3 ตอน คือ
สมัยอยุธยาตอนต้น พ.ศ.1893-1991
สมัยอยุธยาตอนกลาง พ.ศ.1991-2231
สมัยอยุธยาตอนปลาย พ.ศ.2231-2310

5. แบ่งตามลักษณะการปกครองเช่น สมัยรัตนโกสินทร์อาจแบ่งย่อยเป็น 2 ยุค คือ
สมัยรัตนโกสินทร์ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พ.ศ.2325 ถึง พ.ศ.2475
สมัยรัตนโกสินทร์ยุคประชาธิปไตย  พ.ศ.2475 ถึงปัจจุบัน

6. แบ่งตามรัฐบาลหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี  ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้า  จึงมีการแบ่งยุคสมัยตามคณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศในช่วงเวลาต่างๆกัน เช่น
สมัยรัฐบาลนาย ชวน  หลีกภัย  พ.ศ.2535-2538
สมัยรัฐบาลนายบรรหาร  ศิลปอาชา  พ.ศ.2538-2539
สมัยรัฐบาลพลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ  พ.ศ. 2539-2540
สมัยรัฐบาลนายชวน  หลีกภัย พ.ศ.2540-2544
สมัยรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ  ชินวัตร  พ.ศ. 2544-2549
สมัยรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ  จุลานนท์  พ.ศ.2549 – ปัจจุบัน

7. แบ่งตามแนวประวัติศาสตร์สากลช่วงเวลาสมัยประวัติศาสตร์ตามหลักประวัติศาสตร์สากล  นิยมแบ่งเป็น 4 สมัย คือ สมัยโบราณ  สมัยกลาง  สมัยใหม่และสมัยปัจจุบัน สมัยประวัติศาสตร์ไทยแบ่งตามแนวประวัติศาสตร์สากลได้ ดังนี้
สมัยโบราณ  ตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัยจนถึงสิ้นรัชกาลที่ 3 สมัยรัตนโกสินทร์
สมัยใหม่  ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึง พ.ศ.2475  เป็นสมัยปรับปรุงประเทศ
สมัยปัจจุบัน  ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ถึงปัจจุบัน

ส่วนที่เราเรียกๆกันว่า สมัยลพบุรี สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยกรุงธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์ เราเรียกว่ายุคสมัยเก่าของไทยค่ะ เป็นไงบ้างค่ะการแบ่งยุคสมัยของไทยพอเข้าใจกันบ้างรึเปล่ายังไงก็อย่าลืมศึกษาเพิ่มเติมและทบทวนซ้ำกันด้วยนะคะสำหรับบทความนี้หากผิดพลาดประการใดดาวเรืองคนนี้ก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น